สไลด์

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 9

บุคคลที่คุณคิดว่าเป็นผู้นำในทัศนคติของคุณ

นายปรีดี พนมยงค์ เป็นคนไทยผู้มีความสำคัญยิ่งในศตวรรษนี้ ท่านมีบุคลิกภาพเข้มแข็ง มีสายตา อันยาวไกล อุทิศตนเพื่อ รับใช้ ชาติด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีผลงานมากมายเป็นที่ปรากฎ และมีคุณธรรม อันประเสริฐเป็นแนวทางแห่งชาติ เช่นเดียวกับ บุคคลสำคัญ อื่น ๆ ในประวัติศาสตร์ ชื่อของนายปรีดี จักดำรงอยู่ต่อไปแม้หลังจากท่านได้สิ้นชีวิตจากโลกนี้ไปแล้ว ทั้งนี้เพราะ ความคิดของท่านตั้ง อยู่บนฐาน ของคุณฐรรมสากลอันยังประโยชน์ได้แม้ในปัจจุบันกาล เป็นแรงบันดาลใจให้กับคนหนุ่มสาว ชาวไทย จำนวนไม่น้อยแม้ในหมู่ผู้ที่เคย ปฏิเสธความคิดของท่านมาก่อน ได้หวนกลับมาศึกษาทบทวนได้ค้นพบ ความคิดและ วิสัยทัศน์ ของนายปรีดีที่มุ่งมั่นให้เกิดสังคมที่ดีงามยิ่งขึ้น
นายปรีดี พนมยงค์ เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2443 บนแพทางด้านใต้ของคูเมืองอยุธยา ราชธานีเก่าแห่งสยาม ท่านเป็น บุตรชายคนโตของครอบครัวกสิกรฐานะดีสำเร็จการศึกษาระดับมัฐยมเมื่ออายุเพียง 14 ปี ซึ่งเยาว์เกินกว่าจะเรียนต่อในสถาบัน การศึกษาขั้นสูงได้ นายปรีดีจึงช่วยครอบครัวทำนาที่อำเภอวังน้อยอีกสองปี ก่อนที่จะเข้าเรียนในโรงเรียนกฎหมายใน ปี 2460 สองปีต่อมาจึงสำเร็จเป็นเนติบัณฑิต พร้อมกับได้รับทุนจากกระทรวงยุติธรรมให้ ไปศึกษาต่อด้านกฎหมาย ท ี่ ประเทศฝรั่งเศสในปี 2463 ท่านได้รับปริญญารัฐเป็น " บาเชอลิเยอร์" กฎหมาย และ "ลิซองซิเย" กฎหมาย จาก มหาวิทยาลัยก็อง และในปี 2469 ได้รับ ปริญญารัฐเป็น "ดุษฎีบัณฑิตกฎหมาย"ฝ่ายนิติศาสตร์ และประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูงในทางเศรษฐกิจจากมหาวิทยาลัยปารีส นับเป็นคนไทยคนแรกที่สำเร็จการศึกษา ระดับนี้ หลังจากกลับสู่สยาม ได้หนึ่งปี ในเดือนพฤศจิกายน 2471 นายปรีดีได้สมรสกับ นางสาวพูนศุข ณ ป้อมเพชร์ มีบุตรธิดาด้วยกันหกคน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2470 ระหว่างที่ยังศึกษาอยู่ในกรุงปารีส นายปรีดีและนักเรียนไทยพร้อมทั้งข้าราชการไทย อีกหกท่าน ซึ่งต่อมาได้เป็นแกนนำของคณะราษฎรได้จัดประชุมครั้งประวัติศาสตร์ขึ้น พวกเขาได้ตั้งปณิธาน ร่วมกันในอันที่จะเปลี่ยนระบอบการปกครองการสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่ระบอบกษัตริย์ที่อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ คณะดังกล่าวได้เลือกนายปรีดีเป็นผู้นำชั่วคราว คณะราษฎรได้วางหลักหกประการเป็นเป้าหมายเพื่อนำความก้าวหน้าทั้ง ด้านวัตถุ และจิตใจสู่สยาม อันได้แก่ 1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ ให้มั่นคง 2. จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก 3. จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจโดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฎรทุกคนทำจะวางโครงการ เศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก 4. จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน 5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการ ดังกล่าวข้างต้น 6. จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร ในช่วงต่อมาของปี 2470 นายปรีดีได้กลับมายังสยาม และเข้ารับราชการในกระทรวงยุติธรรม ตำแหน่งผู้พิพากษา และต่อมา ได้เป็นผู้ช่วยเลขานุการกรมร่างกฎหมาย ในขณะเดียวกันท่านได้ตั้งโรงพิมพ์เพื่อพิมพ์ตำราและเอกสารด้านกฎหมายทั้งท่านยังได้เป็น ผู้สอนที่โรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรมอีกด้วย กระนั้นความใฝ่ฝันของท่านที่จะเห็นการพัฒนาด้านการเมือง และสังคมและ เศรษฐกิจของประเทศมิเคยจืดจางลง การอภิวัฒน์ในปี 2475 ช่วยถางทางให้นายปรีดีดำเนินการตามวิสัยทัศน์ของตน เพื่อให้เกิดสังคมที่ดีงามและยุติธรรมกว่าเดิม ย่ำรุ่งของวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎรอันประกอบด้วยข้าราชการนายทหาร และราษฎรสามัญ ได้ยึดอำนาจจากรัฐบาล อย่างรวดเร็วและปราศจากการสูญเสียเลือดเนื้อ เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่ระบอบราชา ประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประกาศใช้ รัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ฉบับที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 เป็น กฎหมายสูงสุดของประเทศ นายปรีดีผู้นำพลเรือนแห่งคณะราษฎรได ้เป็นผู้ร่างธรรมนูญการปกครองฉบับดังกล่าว และนำมาเป็นพื้นฐานการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับต่อมา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ฉบับที่ 10 พุทธศักราช 2475 ด้วางรากฐานที่หนักแน่นสำหรับการเติบโตและพัฒนาการด้าน ประชาธิปไตยในสยามทั้งนี้โดยมีสาระสำคัญต่อสังคมและวัฒนธรรม การเมืองไทยสองประการดังนี้ ประการแรก อำนาจสูงสุดต้องตกอยู่กับปวงชนชาวสยาม ประการที่สอง กำหนดให้แยกอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจ ตุลาการออกจากกันอย่างชัดเจน หลักการทั้งสองได้ปฏิรูปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจทั้งหมดของประเทศ และเพาะเมล็ดแห่งประชาธิปไตยขึ้นในสยาม ระหว่างปี 2475 ถึง 2490 นายปรีดีได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญหลายตำแหน่งได้แก่ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ และนายกรัฐมนตรี ี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่อง นายปรีดี พนมยงค์ ไว้ในฐานะรัฐบุรุษอาวุโส และให้มีหน้าที่รับปรึกษากิจราชการแผ่นดิน เพื่อความวัฒนาถาวรของชาติ สืบไป ในช่วงที่รับราชการ และเป็นผู้นำรัฐบาลนายปรีดี ได้เพียรพยายามที่จะดำเนินการให้หลักหกประการของ คณะราษฏรเป็นจริงขึ้นมา คุณูปการของท่านหลายประการได้ส่งผลยั่งยืนสืบมา อาทิ การร่างแผนเค้าโครงการเศรษฐกิจ การสถาปนามหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ และการเมืองพระราชบัญญัติเทศบาลปี 2476 ที่มอบอำนาจให้ประชาชนเลือกตั้ง องค์การ บริหารส่วนท้องถิ่นได ้ การยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาค ที่รัฐบาลสยามได้ถูกชาติมหาอำนาจบีบ ให้ลงนาม การปฏิรูประบบการ จัดเก็บภาษีอากร ที่ไม่เป็นธรรม การจัดทำประมวล รัษฎากร ขึ้นเป็นครั้งแรกและการจัดตั้งองค์กร ซึ่งในเวลาต่อมากลายเป็นธนาคารแห่งประเทศไทย ในระหว่างสงคราม โลกครั้งที่สอง กองทัพ ญี่ปุ่นได้กรีฑาทัพเข้ายึด ประเทศสยาม แม้ในขณะที่ยังเป็นผู้สำเร็จราชการแทนองค์ นายปรีดีได้เป็นผู้นำขบวน การเสรีไทยเพื่อต่อต้านการยึด ครองของญี่ปุ่น อย่าง ลับ ๆ ยังผลให้ในเวลาต่อมารัฐบาล สหรัฐอเมริกายอมรับถึงปฏิบัติการร่วมมืออย่าง ห้าวหาญของ ขบวน การเสรีไทยในการต่อต้านญี่ปุ่น และได้ถือว่าสยามเป็นประเทศเอกราชที่ถูกหักหาญยึดครองโดยกองกำลังทหาร ของญี่ปุ่นไม่เข้าข่ายเป็นประเทศคู่สงครามกับ กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร และได้รับการยกเว้นจากมาตรการควบคุม ภายหลังสงคราม ในวันที่ 16 สิงหาคม 2488 ตามคำแนะนำของลอร์ดหลุยส์เมาน์ทแบตเทน ซึ่งเป็นผู้บัญชาการกองทัพสัมพันธมิตรภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ นายปรีดีในฐานะที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และผู้นำขบวนการเสรีไทย ได้ประกาศให้คำประกาศของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามที่เข้าสู่สงครามกับฝ่ายพันธมิตรโมฆะ เพราะขัดกับเจตนารมณ์ของประชาชนชาวสยาม คุณูปการของเสรีไทยได้ช่วยให้ไทยได้มีสันติภาพและได้รับสถานภาพเดิมก่อนสงครามกลับคืนมา ห้าสิบปีต่อมา ในปี 2538 รัฐบาลได้ยกย่องคุณูปการนี้และประกาศให้วันที่ 16 สิงหาคมเป็นวันสันติภาพไทย ตลอดห้วงแห่งความวุ่นวายทางการเมือง นายปรีดีไม่เคยเสื่มอศรัทธาจากการปลูกฝังวิถีแห่งประชาธิปไตยให้เกิดขึ้น ท่านได้เพียรพยายามทุกวีถีทางที่จะปกป้องดูแลระบอบประชาธิปไตยที่เปรียบเสมือนทารกให้เติบโตขึ้นต่อไป นายปรีดีไม่เคยประพฤติตนอย่างชนชั้นนำร่วมสมัยของท่านที่ขาดความเชื่อมั่นและความจริงใจกับราษฎร ท่านมีศรัทธาอย่า เต็มในมหาชน ในบทความเรื่อง "อนาคตของประเทศไทยควรดำเนินไปในรูปใด" พิมพ์เมื่อปี 2516 นายปรีดีได้กล่าวอย่างซาบซึ้งถึงแนวคิดของระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วม ซึ่งชี้นำแนวทางการดำเนินงานของท่านมาจนตลอดชีวิตไว้ว่า "ระบบเพื่อประโยชน์ของชนจำนวนน้อยจะคงอยู่ชั่วกัลปวาสานไม่ได้ อนาคตจะต้องเป็นของราษฎรซึ่งเป็นพลเมืองส่วนข้างมาก ความอยุติธรรมทางสังคมจักต้องถูกกำจัดให้หมดสิ้นไป" นายปรีดีตระหนักดีว่าสังคมเราจะเป็นประชาธิปไตยได้ก็ต่อเมื่อคนจำนวนมากได้รับการคุ้มครองสิทธิและได้รับโอกาสพัฒนาตนเอง ท่านทราบดีว่าการให้แต่เสรีทางการเมือง โดยไม่ส่งเสริมโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมแก่ชนเหล่านั้นไม่ใช่เรื่องถูกต้องท่านพยายาม ที่จะทำลายระบบศักดินาและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจเพื่อให้เกิดสังคทที่ดีงามขึ้น ท่านปรารถนา ที่จะส่งเสริมให ้เกิดความ สามัคคีและความเข้าใจกันในระหว่างคนร่วมชาติ เพื่อให้พวกเขาได้พัฒนาตนเอง ให้เกิดความใส่ใจและเอื้ออาทรซึ่งกันและกันอันต่าง จากระบบที่ส่งเสริมการแข่งขันอย่างทำลายซึ่งเป็นการสูญพลังไปโดยเปล่าประโยชน์นายปรีดีมีวิสัยทัศน์มุ่งให้ประชาชนทั้งมวลมี ส่วนร่วมในการเสียสละเพื่อความไพบูลย์ของสังคมร่วมกัน นายปรีดีได้กล่าวถึงเรื่องนี้อย่างชัดเจนว่า "สังคมจะดำรงอยู่ได้ก็โดยมวลราษฎรดังนั้นระบบสังคมที่ทำให้มวลราษฎรมีพลังผลักดันให้สังคมก้าวหน้าก็คือระบบประชาธิปไตย "ท่านยังได้เสริมว่าเนื่องจากสังคมประกอบด้วยมิติต่าง ๆ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม นายปรีดีและคณะเห็นความจำเป็นที่ราษฎรจะต้องเข้าใจระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างถ่องแท้ ต้องตระหนักถึงสิทธิใหม่ของตนเอง รวมทั้งหน้าที่ความรับผิดชอบภายใต้ระบบที่สถาปนาขึ้นมาใหม่นี้ ดังนั้นในปี 2477 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายปรีดีได้สถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองขึ้นท่านดำรงตำแหน่งผู้ประศาสน์การคนแรกของมหาวิทยาลัย ที่เปิดหลักสูตรการเรียนอย่างหลากหลายเหมือนเป็นตลาดวิชา ซึ่งรวมทั้งวิชาด้านนิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ดังที่ท่านได้สะท้อนอุดมคติของท่านในสุนทรพจน์ที่กล่าวในพิธีเปิดมหาวิทยาลัยว่า " มหาวิทยาลัยย่อมอุปมาประดุจบ่อบำบัดความกระหายของราษฎรผู้สมัครแสวงหาความรู้ อันเป็นสิทธิและโอกาสที่เขาควรมีควรได้ตามหลักแห่งเสรีภาพในการศึกษารัฐบาลและสภาผู้แทนความจำเป็นในข้อนี้จึงได้ตรา พระราช บัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้น.. ...ยิ่งสมัยที่ประเทศของเราดำเนินการปกครองตามระบอบรัฐธรรมนูญเช่นนี้แล้วเป็นการจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมหาวิทยาลัยสำหรับประศาสน์ความรู้ในวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองแกพลเมืองให้มากที่สุดที่จะเป็นไปได้เปิดโอกาสให้แก่พลเมืองที่จะใช้เสรีภาพในการศึกษากว้างขวางยิ่งขึ้นเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติสืบไป" หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้กลายเป็นสถาบันนำในการช่วยส่งเสริม และปกป้องระบอบประชาธิปไตยในเวลาต่อมา พร้อมกันนั้น นายปรีดียังมุ่งมั่นให้เกิดภาพระดับนานาชาติ ในฐานะรัฐมนตรีภายใต้รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ท่านได้แสดงความไม่เห็นด้วยอยู่เนืองๆ กับนโยบายการเรียกร้องเอาดินแดนคืน อาทิ แผนการยึดคืนดินแดนในอินโดจีนที่อยู่ภายใต้ อารักขาฝรั่งเศส ในระหว่างที่ประเทศฝรั่งเศสถูกยึดครองโดยกองทัพเยอรมันในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง อีกตัวอย่างหนึ่งได้แก่ ความพยายามของ ท่านที่จะบอกกันานาประเทศให้ทราบว่า การใช้ความรุนแรงเข้าห้ำหั่นกันเป็นสิ่งสูญเปล่า โดยตรงสร้างภาพยนตร์เป็น ภาษาอังกฤษ เรื่อง พระเจ้าช้างเผือก ขึ้นเป็นอุทาหรณ์ นายปรีดีสนับสนุนการกำหนดใจตนเองและอิสรภาพของประเทศอาณานิคมทั้งหลายซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนในระหว่างที่ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นโยบายต่างประเทศดังกล่าวเป็นองค์ประกอบด้านสากลส่วนหนึ่งเพื่อเสริมรับกับการปฏิรูปสังคมและระบอบประชาธิปไตยของสยามเอง ทั้งนี้เพราะประเทศเหล่านั้นมุ่งที่จะให้อำนาจกับประชาชนให้เกิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานอันเป็นสิ่งจำเป็นในการกำหนดชะตากรรมของ ตนเองท่านได้ร่วมก่อตั้งสันนิบาตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดสันติสุขโดยจะร่วมมือประสานงานกันระหว่าง ประเทศในภูมิภาคนี้ นายปรีดียังเป็นผู้กำหนดโครงสร้างของรัฐธรรมนูญฉบับ 9 พฤษภาคม 2489 ซึ่งถือได้ว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดฉบับหนึ่ง รัฐธรรมนูญฉบับนี้สะท้อนถึงการบรรลุซึ่งความพยายามอย่างไม่ย่อท้อของนายปรีดี ที่มุ่งให้เกิดความยุติธรรมในสังคม และเพื่อสถาปนาระบอบประชาธิปไตยอย่างเปี่ยมด้วยสาระและความหมายมิใช่เพียงรูปแบบ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้สิทธิในการออกเสียงอย่างเท่าทียมระหว่างหญิงและชายในการเลือกตั้งสมาชิกของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ทั้งยังมีบทบัญญัติที่มุ่งปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอีกด้วย วันที่ 9 มิถุนายน 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตในห้องพระบรรทมอย่างลึกลับด้วยกระสุนปืนที่พระนลาฏ หลังจากที่ได้เข้าไปที่พระบรมมหาราชวังและสถานที่เกิดเหตุ ทั้งได้ปรึกษากับบรรดาเชื้อพระวงศ์ชั้นผู้ใหญ่แล้ว นายปรีดีได้ออกแถลงการณ์ในฐานะนายกรัฐมนตรีวาการสวรรคตเป็นอุบัติเหตุ ส่งผลให้ศัตรูทางการเมืองของนายปรีดีฉวยโอกาสนี้ปั้นแต่งว่าในหลวงถูกลอบปลงพระชนม์ และใส่ใคร้ว่านายปรีดีเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลอบปลงพระชนม์ คืนวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 คณะนายทหารและพลเรือนได้ทำรัฐประหาร โดยอ้างเหตุลอบปลงพระชนม์เพื่อทำลายนายปรีดี (คำตัดสินชั้นศาลหลายคดีหลังจากนั้นได้ยืนยันถึงความบริสุทธิ์ของนายปรีดี) รถถังยิงกระสุนใส่ทำเนียบท่าช้างซึ่งนายปรีดีและครอบครัวพำนักอยู่ ทำให้ต้องลี้ภัยการเมืองไปสิงคโปร์ ต่อมาในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2492 ด้วยความร่วมมือจากทหารเรือและชาวสยามผู้ศรัทธารัฐบาลประชาธิปไตยจำนวนหนึ่ง นายปรีดีได้ทำการปฏิวัติเพื่อยึดอำนาจกลับคืนมาแต่ไม่สำเร็จ และท่านได้ออกจากประเทศโดยมิได้กลับมาอีกเลย ระหว่างปี 2492 ถึง 2513 ท่านพำนักในสาธารณรัฐประชาชนจีน หลังจากนั้นก็ได้ดำเนินชีวิตอย่างสามัญชนที่บ้านชานกรุงปารีส พร้อมด้วยภริยาและบุตรี ท่านถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2526 ในระหว่างลี้ภัย ท่านได้เขียนหนังสือไว้มากและได้กล่าวสุนทรพจน์หลายต่อหลายครั้ง เพื่อแบ่งปันความคิดด้านประชาธิปไตยสันติภาพ และความยุติธรรมในสังคมของท่านกับคนรุ่นหลัง เมล็ดพันธุ์แห่งประชาธิปไตยที่นายปรีดีได้เพาะไว้เมื่อหกทศวรรษก่อน เริ่มงอกเงย ขึ้นมา ต้นไม้แห่งเสรีภาพของท่านจักเติบโตขยายกิ่งก้านสาขายั่งยืนสืบไปเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับว่ามวลราษฎรสยามเรียนรู้และนำ ความคิดของ ท่านไปใช้อย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น