สไลด์

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

จากที่ได้เรียนวิชาการบริหารจัดการในชั้นเรียนโดยใช้Weblogหรือblogนั้นเห็นว่าการใช้งานนี้มีจุดเด่นจุดด้อยอะไรบ้างจุดเด่นของการนำWeblogมาใช้กับการเรียนวิชาการบริหารจัดการในชั้นเรียน
ตอบ1.การนำWeblogนี้มาใช้ทำให้การเรียนนั้นแตกต่างไปจากการเรียนแบบปกติ ผู้เรียนมีความตื่นเต้นและน่าสนใจ อยากจะเรียนในวิชานี้มากยิ่งขึ้น
2.เป็นความรู้ใหม่ที่จะทำให้นักศึกษาได้เอาไปใช้ในการเรียนการสอนในอนาคต
3.นักศึกษาได้รู้จักนวัตกรรมใหม่เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในวิชาชีพของตนเองได้อย่างเต็มความสามารถและยังช่วยให้เกิดการเรียนรู้รูปแบบใหม่ๆมากยิ่งขึ้น4.Weblogเป็นช่องทางใหม่ในการแสดงความสามรถ แสดงความคิดเห็น และผลงานทางความคิดให้ผู้สนใจหรือบุคคลอื่นได้เข้ามาศึกษาหาความรู้และเป็นการใช้เวลาว่างที่เป็นประโยชน์
5.การนำมาใช้กับการเรียนทให้นักศึกษาได้ฝึกความพยายาม ความอดทนและความตั้งใจในการทำบล็อคให้ออกมาสวยงามและน่าสนใจ

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...



ข้อสอบ
ให้นักเรียนตอบข้อสอบลงในWeblog ของนักเรียนแต่ละคน คำสั่ง ให้นักเรียนทำข้อสอบโดยการแสดงความคิดเห็นสะท้อนข้อคิดพร้อมยกตัวอย่างประกอบในการแสดงความคิดเห็นให้เป็นเหตุเป็นผลของผู้เรียน อาจารย์จะอ่านข้อคิดเห็นที่เป็นเหตุเป็นผลต่อกัน เขียนในWeblog ให้ชวนอ่าน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ข้อที่ 1 กรณีที่เกิดความวุ่ยวายของบ้านเมืองโดยเฉพาะผู้นำประเทศที่ผ่านมา ท่านในฐานะเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะแสดงความคิดเห็น อดีตนายกทักษิณ ทั้งข้อดีและข้อเสียของท่าน หากพิจารณาข้อดีและข้อเสียท่านจะนำมาสอนให้ผู้เรียนเกิดความคิดที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร
ตอบ กรณีที่เกิดความวุ่นวายของบ้านเมืองในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นครูพันธุ์ใหม่ข้าพเจ้าคิดว่าข้อดีและข้อเสีย ของนายกทักษิณคือท่านได้ทำธุรกิจส่วนตัวของท่านมากมายเช่นค้าขายผ้าไหม กิจการโรงภาพยนตร์ ธุรกิจคอนโดมิเนียม แต่กลับประสบความล้มเหลว เป็นหนี้สินกว่า 50 ล้านบาท ในระหว่างนั้นจึงได้ลาออกจากราชการพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เคยเป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์หลายเรื่อง โดยมักเป็นการนำภาพยนตร์ที่เคยได้รับความนิยมกลับมาสร้างใหม่ แต่ส่วนมากไม่ประสบความสำเร็จในด้านรายได้ เช่น ไทรโศก (2524 สร้างครั้งแรกโดย วิจิตร คุณาวุฒิ พ.ศ. 2510) รักครั้งแรก (2524 สร้างครั้งแรกโดย ล้อต๊อก พ.ศ. 2517) โนรี (2525 สร้างครั้งแรกโดย พันคำ พ.ศ. 2510) รจนายอดรัก (2526 สร้างครั้งแรกโดย ประสิทธิ์ ศิริบันเทิง พ.ศ. 2515) ต่อมา ในปี พ.ศ. 2526 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ก่อตั้ง บริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ จำกัด (ชื่อเดิม ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไอซีเอสไอ (ICSI) ปัจจุบันได้เข้าจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มีนายบุญคลี ปลั่งศิริเป็นประธานคณะกรรมการบริหาร) ดำเนินธุรกิจ ให้เช่าคอมพิวเตอร์แก่สำนักงานต่างๆ และได้ขยายกิจการไปสู่ การให้บริการ วิทยุติดตามตัว โทรศัพท์เคลื่อนที่ ดาวเทียม และ โทรคมนาคม ครบวงจร นำไปสู่การชำระหนี้สินในช่วงแรกของการทำธุรกิจ และประสบผลสำเร็จทางธุรกิจในที่สุด และทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นปราบปรามยาเสพติดให้ทุเลาลงได้ และปราบปรามผู้มีอิทธิพลชดใช้หนี้สินที่รัฐบาลมีต่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) จนหมดภายใน 2 ปี และการจำหน่ายสลากเลขท้าย 3 ตัว 2 ตัว ของรัฐบาล โดยนำรายได้จากการจำหน่ายส่วนหนึ่ง ไปเป็นทุนการศึกษา สำหรับเยาวชนที่ครอบครัวมีฐานะยากจน ที่ผ่านสอบคัดเลือกในระดับอำเภอ เพื่อส่งไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ ตามสาขาที่นักเรียนทุนต้องการ โดยไม่มีภาระผูกพันต้องใช้ทุนแก่ราชการ ทั้งยังสามารถลดปัญหาจากการค้าหวยเถื่อนได้อย่างเป็นรูปธรรม แต่ก็มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า รายได้ในส่วนอื่นยังไม่สามารถตรวจสอบได้ ว่านำไปใช้อะไรบ้าง ซึ่งรัฐบาลสมัยนั้นก็มิได้เปิดเผยรายละเอียดดังกล่าว และยังมีโครงการ แท็กซี่เอื้ออาทร โดยคิดค่าเช่ารถในราคาประหยัด เพื่อสร้างอาชีพให้ผู้มีรายได้น้อย แต่มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่า มีการลักลอบเปิดโอกาสให้ทำธุรกิจเช่าแท๊กซี่ได้อย่างเสรี เพื่อเอื้อประโยชน์ให้เครือญาติของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ที่ดำเนินธุรกิจให้เช่าแท๊กซี่ในกรุงเทพมหานคร เป็นผลให้เกิดปริมาณรถแท๊กซี่บนท้องถนนมากเกินความจำเป็น แต่ท่านก็เป็นคนที่เห็นแก่ตัวเห็นแก่ตนใช้อำนาจเงิน เอาความคิดของตนเองเป็นใหญ่ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นครูข้าพเจ้าจะสอนเด็กด้วยความเห็นส่วนกลางว่าคนเราไม่ได้มีด้านเดียวมีผิดแล้วต้องมีถูกบ้าง คนบางคนที่ทำผิดไม่ใช่ว่าเขาจะผิดตลอดไปเราควรยึดสายกลางตลอดไม่ว่าจะทำอะไรส่วนข้อดีของท่านท่านเป็นคนที่พยายามเราควรที่จะนำเอาความพยายามต่างๆๆที่ท่านเคยทำมาใช้ ในการเรียนการสอนเพราะเราทุกคนต้องนำมาใช้ และการที่ท่านเป็นคนที่เห็นแก่ตัวเราก็ไม่ควรนำนิสัยเนแก่ตัวของท่านมาใช้ เพราะการเห็นแก่ตัวมันไม่ได้เกิดผลดีอะไรกับเราเลย เกิดแต่เสียอย่างเดียวเพราะเราไม่ได้ความรู้เพิ่มเติม ถ้าเราเผื่อแผ่คนอื่นสิ่งที่เราเผื่อแผ่ก็จะกลับมาหาเราทั้งหมดเหมือนกับเราย้ำกับตัวเองตลอด และการที่เอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่ไม่รับฟังความคิดเห็นของคนอื่นจะทำให้เราไม่ได้รับความรู้ของบุคคลอื่นเราจะจมอยู่กับความคิดที่เดิมๆๆ ข้าพเจ้าคิดว่าการมีส่วนร่วมต่างๆๆในกิจกรรมและการรับฟังบุคคลอื่น จะทำให้เราได้เปลี่ยนแปลงความคิดของตัวเองได้หลายๆๆด้าน
ข้อที่ 2 การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่จะให้มีประสิทธิภาพท่านจะมีวิธีคิดอย่างไรหากท่านเป็นครูที่ดีควรเตรียมการเป็นที่ครูที่ดีอย่างไรให้ท่านแสดงความคิดเห็นของท่านเอง
ตอบ บรรยากาศในห้องเรียนและในโรงเรียนจะต้องสร้างให้เกิดความกลมกลืนในการจัดการเรียนรู้ บรรยากาศในชั้นเรียนสามารถทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างผู้เรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และผู้เรียนที่เบื่อหน่ายและไม่เต็มใจ ห้องเรียนที่จูงใจจะชี้ชวนให้อยากเรียน การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนด้วยการให้นักเรียนมีส่วนในการออกแบบตกแต่งห้องเรียน สร้างมาตรฐานการปฏิบัติในห้องเรียน จะทำให้นักเรียนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของห้องเรียน ทำให้รู้สึกว่าห้องเรียนเป็นสถานที่ของเขาที่เขาภาคภูมิใจบรรยากาศที่ดีจะต้องมีความยืดหยุ่น ไม่ตึงเครียด ห้องเรียนควรจะปรับเปลี่ยนได้ ครูไม่ควรยึดติดกับการจัดที่นั่งให้นักเรียนเป็นแถว ควรจะให้นักเรียนรู้สึกมีอิสระในการเคลื่อนย้ายเก้าอี้ได้หากมีกิจกรรมที่จะต้องปฏิบัติร่วมกัน การสร้างแรงจูงใจเป็นส่วนหนึ่งของงานในหน้าที่ของครู แรงจูงใจนี้จะส่งผลให้นักเรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนด้วยกันเองและนักเรียนกับครู การสร้างแรงจูงใจครูจะต้องสามารถสื่อสารกับนักเรียนได้อย่างชัดเจน แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกไว้วางใจ ของครูที่มีต่อนักเรียน ครูจะต้องเป็นคนเปิดเผย จริงใจ รับฟังความคิดเห็นของนักเรียนไม่สื่อสารข้างเดียว ครูจะต้องพิจารณาทั้งความคิด ความเห็นต่าง ๆของนักเรียนอย่างเปิดใจ ดึงความสนใจ สร้างแรงจูงใจอย่างต่อเนื่อง ครูจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีสอนให้หลากหลาย ให้นักเรียนมีส่วนร่วมอยู่ตลอดเวลา หากห้องเรียนมีบรรยากาศรื่นรมย์เชิงบวก ส่งเสริมสนับสนุน และท้าทายจะพบว่านักเรียนมีสัมฤทธิ์ผลและพฤติกรรมที่แสดงออกเปี่ยมด้วยคุณงามความดีมากกว่าห้องเรียนที่มีบรรยากาศที่ไม่กลมกลืนทางลบไม่ส่งเสริมนักเรียนและไม่ท้าทาย ดังนั้น ครูควรจะสร้างบรรยากาศตั้งแต่ก่อนเปิดเรียนทำให้เกิดความรู้สึกที่ท้าทาย กระตือรือร้น ให้การนับถือนักเรียนทุกคนแล้วทุกคนก็จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ข้อที่ 3 ในฐานะท่านเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะนำนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนมาใช้การเรียนการสอนแบบใหม่ได้อย่างไร
ตอบ ในปัจจุบันนี้ยุคสมัยได้เริ่มเปลี่ยนไปแล้วเทคโนโลยีใหม่ๆได้เข้ามามีบทบาทมากในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันนี้และคำว่านวัตกรรมหมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า หรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ โดยสรุปแล้ว นวัตกรรมหมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมให้ดีขึ้นและเมื่อนำมาใช้งานก็ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษาเราก็เรียกว่านวัตกรรมการศึกษา และเราในฐานะที่เป็นครูพันธ์ใหม่เมื่อเราได้รับเทคโนโลยีใหม่ๆมาเราควรนำมาเผยแพร่แก่นักเรียนให้นักเรียนได้รู้ถึงนวัตกรรมใหม่ๆที่ได้รับมาทำให้เด็กได้ทันยุคทันสมัยและเด็กก็สามารถนำไปบอกบุคคลอื่นและสามารถทำงานได้รวดเร็วทันสมัยและทันเหตุการณ์รู้ทันท่วงทีและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายๆด้าน และเราก็สามารถเรียนรู้ได้นอกห้องเรียนได้ในชีวิตจริงมีการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการอยากเรียนอยากรู้ด้วยตนเองในสิ่งที่ตนเองอยากรู้อยากเรียนมากมายจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ทั้งจากหนังสือเอกสาร ตำรา บุคคล สถานที่ หากรู้ความต้องการที่แท้จริงของนักเรียนทั้งความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระตามหลักสูตรโดยตรง หรือมีส่วนเกี่ยวข้อง แล้วจัดหนังสือ ตำรา หรือแหล่งเรียนรู้ ทั้งที่เป็นสถานที่ บุคคล ตลอดจนอินเตอร์เน็ตไว้พร้อมบริการได้เสมอ ก็จะช่วยให้ นักเรียนเรียนรู้ได้โดยไม่ต้อง หรือ สอนแบบพบปะ กันในห้องเรียนน้อยลง และทำให้เราสะดวกในการค้นหาข้อมูลต่างๆได้อย่างรวดเร็ว
ข้อที่ 4 การประกันคุณภาพมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการในชั้นเรียนได้อย่างไร
ตอบ มีความสำคัญมากต่อการจัดการในชั้นเรียนเพราะว่าการบริหารจัดการชั้นเรียนและการเรียนการสอน เพราะเมื่อมีการประกันคุณภาพแล้วจะทำให้ผู้ปกครองและนักเรียน มีความพอใจและให้ความไว้วางใจกับสถานศึกษาจึงทำให้มีระบบที่ดีมากยิ่งขึ้น จะทำให้การจัดการบริหารชั้นเรียนมีคุณภาพและมีแนวทางในการจัดการที่ดีต่อไป และทำให้ชั้นเรียนมีความทันสมัยขึ้น มีคุณภาพที่ดีและยกระดับการศึกษา ในปัจจุบันนี้จะมีการแข่งขันกันจึงทำให้ในหลายๆโรงเรียนมีการกระตุ้นตัวเองจึงทำให้ได้มาตราฐานในทุกส่วนทั้งการการจัดการบริหารการจัดการในชั้นเรียนและโรงเรียนพัฒนาดีขึ้น
ข้อที่ 5 ให้ผู้เรียนประเมินผู้สอนทั้งข้อดีข้อเสียและข้อเสนอแนะเพื่อที่จะนำไปปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป
ตอบ ข้อดีของผู้สอน
1. อาจารย์เป็นคนที่ตรงต่อเวลา
2. อาจารย์เป็นคนแต่งกายสุภาพ
3. อาจารย์เป็นคนที่ให้คำปรึกษาที่ดี
4. อาจารย์เป็นคนที่นำเทคโนโลยีใหม่ๆมาให้นักศึกษาได้รับรู้
5. อาจารย์เป็นคนที่เป็นกันเองกับนักศึกษาทุกคน
6. อาจารย์เป็นคนที่ตลกทำให้นักศึกษาหายเครียด
7. สอนให้นักศึกษาทำงานกันเป็นกลุ่ม
8.ไม่มีการให้คะแนนโดยความไม่ชอบธรรม
ข้อเสียของอาจารย์
1. อาจารย์เป็นคนที่พูดเร็วสอนเร็ว
2. นักศึกษามีโน๊ตบุ๊คไม่ทุกคนจึงยากที่จะทำงานที่อาจารย์สั่ง
3. อาจารย์สั่งงานเยอะเกินไป
4. มีเวลาน้อยเกินไปในการทำงาน
5. อาจารย์ควรcommentงานเวลาที่นักศึกษารายงานเพื่อทรี่จะกลับไปปรับปรุง
ข้อเสนอแนะ
คือว่าอาจารย์สั่งงานเยอะเกินไปแต่อาจารย์ให้เวลาในการทำงานน้อยเกินไป จึงทำให้ทำงานไม่ค่อยทำและอีกอย่างคือว่าเราเรียนวิชาการจัดการชั้นเรียนอาจารย์ควรที่จะให้นักศึกษาออกไปสังเกตุโรงเรียนเพื่อที่จะได้ไปเห็นสภาพของโรงเรียนในสภาพจริง และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการไปประกอบวิชาชีพในครั้งต่อไป
ใบงานที่ 12 เรื่อง การประเมินคุณภาพการศึกษา
ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษาหมายถึง การบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง สร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ทั้งผู้รับบริการโดยตรง ได้แก่ ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางอ้อม ได้แก่ สถานประกอบการ ประชาชน และสังคมโดยรวมความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา มีความสำคัญ 3 ประการ คือ1.ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลคุณภาพการศึกษาที่เชื่อถือได้ เกิดความเชื่อมั่นและสามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน2.ป้องกันการจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและเกิดความเสมอภาคในโอกาสที่จะได้รับการบริการการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง3.ทำให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษามุ่งบริหารจัดการศึกษาสู่คุณภาพและมาตรฐานอย่างจริงจัง ซึ่งมีผลให้การศึกษามีพลังที่จะพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่องการประกันคุณภาพการศึกษาจึงเป็นการบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการการศึกษา ทั้งยังเป็นการป้องกันการจัดการศึกษาที่ด้อยคุณภาพและสร้างสรรค์การศึกษาให้เป็นกลไกที่มีพลังในการพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้นการประกันคุณภาพการศึกษาเกี่ยวข้องกับการดำเนินการที่สำคัญ 2 เรื่องดังนี้1.การกำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาซึ่งหลักปฏิบัติทั่วไปจะกำหนดโดยองค์คณะบุคคล ผู้เชี่ยวชาญ หรือ ผู้มีประสบการณ์ ในระบบการศึกษาไทยตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กำหนดให้กระทรวงการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เป็นผู้กำหนดมาตรฐานการศึกษา (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : มาตรา 31) โดยมีสภาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมแห่งชาติ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นผู้พิจารณาเสนอตามลำดับสายงาน (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542: มาตรา 34)2.กระบวนการตรวจสอบและประเมินการดำเนินการจัดการศึกษาว่าเป็นไปตามมาตรฐาน คุณภาพการศึกษามากน้อยเพียงไร พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษา จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายใน เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : มาตรา 48) และให้มีการประเมินคุณภาพภายนอก ของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุก 5 ปี โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : มาตรา 49)กระบวนการประกันคุณภาพภายในระบบการประกันคุณภาพภายใน หมายถึง ระบบการประเมินผล และการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเองหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : มาตรา 4)สถานศึกษาจะต้องพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารและการปฏิบัติงาน โดยคำนึงถึงหลักการและกระบวนการดังต่อไปนี้1.หลักการสำคัญของการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษามี 3 ประการ คือ(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2543 : 11)1.1 จุดมุ่งหมายของการประกันคุณภาพภายใน คือ การที่สถานศึกษาร่วมกันพัฒนาปรับปรุงคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา ไม่ใช่การจับผิดหรือทำให้บุคลากรเสียหน้า โดยเป้าหมายสำคัญอยู่ที่ การพัฒนาคุณภาพให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน1.2 การที่จะดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามข้อ 1.1 ต้องทำให้การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการและการทำงานของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษาไม่ใช่เป็นกระบวนการที่แยกส่วนมาจากการดำเนินงานตามปกติของสถานศึกษาโดยสถานศึกษาจะต้องวางแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการที่มีเป้าหมายชัดเจน ทำตามแผนตรวจสอบประเมินผลและพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบที่มีความโปร่งใสและมีจิตสำนึกในการพัฒนาคุณภาพการทำงาน1.3 การประกันคุณภาพเป็นหน้าที่ของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ครู อาจารย์และบุคลากรอื่นๆ ในสถานศึกษาโดยในการดำเนินงานจะต้องให้ผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้เรียน ชุมชน เขตพื้นที่การศึกษา หรือหน่วยงานที่กำกับดูแลเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย วางแผน ติดตามประเมินผลพัฒนาปรับปรุง ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ช่วยกันผลักดันให้สถานศึกษามีคุณภาพ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ เป็นไปตามความต้องการของผู้ปกครอง สังคม และประเทศชาติ2.กระบวนการการประกันคุณภาพภายในตามแนวคิดของการประกันคุณภาพ มี 3 ขั้นตอนคือ2.1 การควบคุมคุณภาพ เป็นการกำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้เข้าสู่มาตรฐาน2.2 การตรวจสอบคุณภาพ เป็นการตรวจสอบ และติดตามผลการดำเนินงานของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด2.3 การประเมินคุณภาพ เป็นการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาโดยสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดในระดับเขตพื้นที่การศึกษาฯ และระดับกระทรวง3. กระบวนการประกันคุณภาพภายในตามแนวคิดของหลักการบริหารที่เป็นกระบวนการครบวงจร (PDCA) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ3.1 การร่วมกันวางแผน (Planning)3.2 การร่วมกันปฏิบัติตามแผน (Doing)3.3 การร่วมกันตรวจสอบ (Checking)3.4 การร่วมกันปรับปรุง (Action)บทบาทหน้าที่ของครูในการประกันคุณภาพภายในควรเป็นดังนี้1.มีการเตรียมความพร้อมของตนเอง โดยทำการศึกษาให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ วิธีการ ขั้นตอนในการประเมินผลภายใน รวมทั้งพยายามสร้างเจตคติที่ดีต่อการประเมินภายใน2.ให้ความร่วมมือกับสถานศึกษาในการให้ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปที่คณะกรรมการประเมินผลภายในต้องการ3.ให้ความร่วมมือกับสถานศึกษาเมื่อได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งของการประเมินผลภายใน เช่น เข้าร่วมพิจารณาจัดทำปฏิทินการปฏิบัติงานด้านการประเมินผลภายในสถานศึกษา ร่วมกันพิจารณาจัดสร้างเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลลักษณะต่างๆ ในกระบวนการประเมินผลภายใน ร่วมกันทำการสำรวจเก็บข้อมูลที่คณะกรรมการสำรวจ ร่วมกันทำการวิเคราะห์ข้อมูล (หากมีความรู้ด้านการวิเคราะห์) ร่วมกันสรุปผลการประเมิน เป็นต้น4.ให้ความร่วมมือกับสถานศึกษา ในการร่วมกันกำหนดจุดประสงค์ กำหนดมาตรฐานและตัวบ่งชี้ในการประเมินด้านต่าง ๆ ของสถานศึกษาเอง และร่วมกันกำหนดเกณฑ์การตัดสินมาตรฐานและตัวบ่งชี้ในด้านต่าง ๆ5.ปฏิบัติหน้าที่หลักหรือหน้าที่ประจำที่รับผิดชอบอย่างมีระบบ ตามกระบวนการและสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา เช่น ในหน้าที่การสอนต้องมีการพัฒนาหลักสูตรและแผนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ จัดเตรียมเนื้อหาสาระที่ถูกต้องเหมาะสมกับจุดประสงค์การเรียนการสอน จัดทำสื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพตรงตามจุดประสงค์การเรียนการสอน จัดกิจกรรม วิธีการเรียนรู้ที่สร้างให้ผู้เรียนเกิดการค้นคว้าหาความรู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง เลือกวิธีการประเมินผลการเรียนหลากหลายและเหมาะสมรวบรวมผลสรุปผล ประเมินการเรียนการสอน พฤติกรรมของผู้เรียน นำผลการประเมินมาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เป็นต้นการประเมินคุณภาพภายนอกความหมายของการประเมินคุณภาพภายนอกสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาการประเมินคุณภาพภายนอก คือ การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตาม การตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) หรือ สมศ. เพื่อมุ่งให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ผู้ประเมินภายนอกหรือคุณหมอโรงเรียนมีความเป็นอิสระ และเป็นกลาง ไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้งกับการประเมินคุณภาพภายนอกจะนำไปสู่การเข้าถึงคุณภาพการศึกษาด้วยความเป็นกลาง เพื่อสร้างสรรค์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอย่างแท้จริงความสำคัญของการประเมินคุณภาพภายนอกการประเมินคุณภาพภายนอก มีความสำคัญและมีความหมายต่อสถานศึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสาธารณชน ดังต่อไปนี้ประการที่ 1 เป็นการส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานและพัฒนาตนเองให้เต็มตามศักยภาพอย่างต่อเนื่องประการที่ 2 เพิ่มความมั่นใจและคุ้มครองประโยชน์ให้ผู้รับบริการทางการศึกษาว่าสถานศึกษาได้จัดการศึกษามุ่งสู่คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีความสามารถ และมีความสุขเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมประการที่ 3 สถานศึกษาและหน่วยงานที่กำกับดูแล เช่น คณะกรรมการสถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนท้องถิ่นมีข้อมูลที่จะช่วยตัดสินใจในการวางแผนและดำเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการและบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดประการที่ 4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบายมีข้อมูลสำคัญในภาพรวมเกี่ยวกับคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษาทุกระดับทุกสังกัด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดแนวนโยบายทางการศึกษาและการจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
ใบงานที่ 11สรุปสาระสำคัญเรื่อง การบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา



ศึกษาเพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างจริงจังและเพื่อสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการทางการศึกษา สถานศึกษาควรดำเนินการดังนี้
1. สถานศึกษาจะต้องดำเนินการประกันคุณภาพภายในเป็นประจำทุกปี
2. ให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการศึกษา และการทำงานของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการกำหนดเป้าหมายหรือมาตรฐานการศึกษาที่สอดคล้องกับความมุ่งหมายและหลักการตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการที่ชัดเจน และดำเนินงานตามแผน ติดตามประเมินผลการทำงานของตนเองอย่างต่อเนื่อง และนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญ ไม่ใช่มุ่งเน้นการจับผิดหรือให้คุณให้โทษบุคลากรของสถานศึกษา
3. การดำเนินการประกันคุณภาพทุกขั้นตอนให้เน้นการประสานงานและการมีส่วนร่วมของทุกกลุ่มทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ บุคลากรทุกคนในสถานศึกษา กรรมการโรงเรียน ผู้ปกครอง บุคลากรของหน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน เขตพื้นที่การศึกษาและภูมิภาคเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการในการให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตามมาตรา 8 ของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ โดยสถานศึกษาควรช่วยเตรียมพร้อมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนัก เห็นคุณค่าและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา4. สถานศึกษาจะต้องจัดทำรายงานประจำปีการศึกษาให้เรียบร้องภายในเดือนเมษายนของทุกปี โดยให้แสดงผลการประเมินคุณภาพการศึกษา แนวทางหรือแผนงานในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาในปีการศึกษาต่อไป แล้วเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่กระทรวงกำหนด และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ตลอดจนสาธารณชน โดยจัดทำรายงานโดยสรุป ปิดประกาศไว้ที่โรงเรียน แจังให้ผู้ปกคองและเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้รับทราบ รวมทั้งมีรายงานฉบับสมบูรณ์ที่พร้อมจะให้ผู้ที่สนใจขอดูได้ตลอดเวลา
5. จัดเตรียมเอกสารหลักฐานและข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก ที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียน และแนวทางการจัดการศึกษษ ตามหลักการและจุดมุ่งหมายของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ และเตรียมพร้อมเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอก โดยบุคลากรที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกรอบห้าปีประโยชน์ของการประกันคุณภาพการศึกษาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาจะทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีโอกาสได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการและการพัฒนาการศึกษาทุกขั้นตอน ตั้งแต่การกำหนดเป้าหมาย/การวางแผน การทำตามแผน การประเมินผล และการนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงาน นอกจากนี้การประกันคุณภาพการศึกษายังเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องดังนี้· ผู้เรียนและผู้ปกครองมีหลักประกันและความมั่นใจว่าสถานศึกษาจะจัดการศึกษาที่มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด· ครูได้ทำงานอย่างมืออาชีพ ได้ทำงานที่เป็นระบบที่ดี มีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ และเน้นวัฒนธรรมคุณภาพ ได้พัฒนาตนเองและผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ทำให้เป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน· ผู้บริหารได้ใช้ภาวะผู้นำ และความรู้ความสามารถในการบริหารงานอย่างเป็นระบบ และมีความโปร่งใส เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับและนิยมชมชอบของผู้ปกครองและชุมชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและเป็นประโยชน์ต่อสังคม· หน่วยงานที่กำกับดูแลได้สถานศึกษาที่มีคุณภาพและศักยภาพในการพัฒนาตนเอง ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระในการกำกับดูแลสถานศึกษา และก่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพพทางการศึกษา และคุณภาพของสถานศึกษา· ผู้ประกอบการ ชุมชน สังคม และประเทศชาติได้เยาวชนและคนที่ดีมีคุณภาพและศักยภาพที่จะช่วยทำงานพัฒนาองค์กร ชุมชน สังคมและประเทศชาติต่อไป

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 10

การจัดชั้นเรียนที่ดีความหมายของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียนความสำคัญของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนบรรยากาศในชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความสนใจในบทเรียนและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น การสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น ที่ครูให้ความเอื้ออาทรต่อนักเรียน ที่นักเรียนกับนักเรียนมีความสัมพันธ์ฉันท์มิตรต่อกันที่มีระเบียบ มีความสะอาด เหล่านี้เป็นบรรยากาศที่นักเรียนต้องการ ทำให้นักเรียนมีความสุขที่ได้มาโรงเรียนและในการเรียนร่วมกับเพื่อนๆ ถ้าครูผู้สอนสามารถสร้างความรู้สึกนี้ให้เกิดขึ้นต่อนักเรียนได้ ก็นับว่าครูได้ทำหน้าที่ในการพัฒนาเยาวชนของประเทศชาติให้เติบโตขึ้นอย่างสมบรูณ์ทั้งทางด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคม โดยแท้จริง ดังนั้น การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งประมวลได้ดังนี้1. ช่วยส่งเสริมให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น เช่น ห้องเรียนที่ไม่คับแคบจรเกินไป ทำให้นักเรียนเกิดความคล่องตัวในการทำกิจกรรม2. ช่วยสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดีงามและความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน เช่น ห้องเรียนที่สะอาด ที่จัดโต๊ะเก้าอี้ไว้อย่างเป็นระเบียบ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน นักเรียนจะซึมซับสิ่งเหล่านี้ไว้โดยไม่รู้ตัว3. ช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้เรียน เช่น มีแสงสว่างที่เหมาะสม มีที่นั่งไม่ใกล้กระดานดำมากเกินไป มีขนาดโต๊ะและเก้าอี้ที่เหมาะสมกับวัย รูปร่างของนักเรียนนักศึกษา ฯลฯ4. ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างความสนใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดมุมวิชาการต่าง ๆ การจัดป้ายนิเทศ การตกแต่งห้องเรียนด้วยผลงานของนักเรียน5. ช่วยส่งเสริมการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เช่น การฝึกให้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การฝึกให้มีอัธยาศัยไมตรีในการอยู่ร่วมกัน ฯลฯ6. ช่วยสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนและการมาโรงเรียน เพราะในชั้นเรียนมีครูที่เข้าใจนักเรียน ให้ความเมตตาเอื้ออารีต่อนักเรียน และนักเรียนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันกล่าวโดยสรุปได้ว่า การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนจะช่วยส่งเสริมและสร้างเสริมผู้เรียนในด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคมได้เป็นอย่างดี ทำให้นักเรียนเรียนด้วยความสุข รักการเรียน และเป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ในที่สุดบรรยากาศที่พึงปรารถนาในชั้นเรียนในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนต่างปรารถนาให้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น และผู้เรียนเกิดพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้ความปรารถนานี้เป็นจริงบรรยากาศในชั้นเรียนที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการสอน จัดแบ่งได้ 6 ลักษณะ สรุปได้ดังนี้1. บรรยากาศที่ท้าทาย (Challenge) เป็นบรรยากาศที่ครูกระตุ้นให้กำลังใจนักเรียนเพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการทำงาน นักเรียนจะเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและพยายามทำงานให้สำเร็จ2. บรรยากาศที่มีอิสระ (Freedom) เป็นบรรยากาศที่นักเรียนมีโอกาสได้คิด ได้ตัดสินใจเลือกสิ่งที่มีความหมายและมีคุณค่า รวมถึงโอกาสที่จะทำผิดด้วย โดยปราศจากความกลัวและวิตกกังวล บรรยากาศเช่นนี้จะส่งเสริมการเรียนรู้ ผู้เรียนจะปฏิบัติกิจกรรมด้วยความตั้งใจโดยไม่รู้สึกตึงเครียด3. บรรยากาศที่มีการยอมรับนับถือ (Respect) เป็นบรรยากาศที่ครูรู้สึกว่านักเรียนเป็นบุคคลสำคัญ มีคุณค่า และสามารถเรียนได้ อันส่งผลให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและเกิดความยอมรับนับถือตนเอง4. บรรยากาศที่มีความอบอุ่น (Warmth) เป็นบรรยากาศทางด้านจิตใจ ซึ่งมีผลต่อความสำเร็จในการเรียน การที่ครูมีความเข้าใจนักเรียน เป็นมิตร ยอมรับให้ความช่วยเหลือ จะทำให้นักเรียนเกิดความอบอุ่น สบายใจ รักครู รักโรงเรียน และรักการมาเรียน5. บรรยากาศแห่งการควบคุม (Control) การควบคุมในที่นี้ หมายถึง การฝึกให้นักเรียนมีระเบียบวินัย มิใช่การควบคุม ไม่ให้มีอิสระ ครูต้องมีเทคนิคในการปกครองชั้นเรียนและฝึกให้นักเรียนรู้จักใช้สิทธิหน้าที่ของตนเองอย่างมีขอบเขต6. บรรยากาศแห่งความสำเร็จ (Success) เป็นบรรยากาศที่ผู้เรียนเกิดความรู้สึกประสบความสำเร็จในงานที่ทำ ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น ผู้สอนจึงควรพูดถึงสิ่งที่ผู้เรียนประสบความสำเร็จให้มากกว่าการพูดถึงความล้มเหลว เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่สิ่งที่ล้มเหลว เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่ความล้มเหลวจะมีผลทำให้ความคาดหวังต่ำ ซึ่งไม่ส่งเสริมให้การเรียนรู้ดีขึ้นบรรยากาศทั้ง 6 ลักษณะนี้ มีผลต่อความสำเร็จของผู้สอนและความสำเร็จของผู้เรียนผู้สอนควรสร้างให้เกิดในชั้นเรียนลักษณะของชั้นเรียนที่ดีเพื่อให้การจัดชั้นเรียนที่ถูกต้องตามหลักการ ผู้สอนควรได้ทราบถึงลักษณะของชั้นเรียนที่ดี สรุปได้ดังนี้1. ชั้นเรียนที่ดีควรมีสีสันที่น่าดู สบายตา อากาศถ่ายเทได้ดี ถูกสุขลักษณะ2. จัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่ที่อยู่ในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน และกิจกรรมประเภทต่างๆ3. ให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข มีอิสรเสรีภาพ และมีวินัยในการดูแลตนเอง4. ใช้ประโยชน์ชั้นเรียนให้คุ้มค่า ครูอาจดัดแปลงให้เป็นห้องประชุม ห้องฉายภาพยนตร์และอื่น ๆ5. จัดเตรียมชั้นเรียนให้มีความพร้อมต่อการสอนในแต่ละครั้ง เช่น การทำงานกลุ่ม การสาธิตการแสดงบทบาทสมมุติ6. สร้างบรรยากาศให้อบอุ่น ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียนรูปแบบการจัดชั้นเรียนการจัดชั้นเรียนจัดได้หลายรูปแบบ โดยจัดให้เหมาะสมกับบทเรียน กิจกรรมการเรียนการสอน จำนวนนักเรียน สภาพแวดล้อมในชั้นเรียน ขนาดของห้องเรียน เป็นต้น ครูควรได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบของการจัดโต๊ะ เก้าอี้ มุมวิชาการ และมุมต่าง ๆ ในห้องเรียน เพื่อสร้างบรรยากาศของห้องเรียนให้น่าสนใจไม่ซ้ำซากจำเจ ไม่น่าเบื่อหน่าย นักเรียนจะเกิดความกระตือรือร้นและกระฉับกระเฉงในการเรียนดีขึ้น การจัดชั้นเรียนถ้าแบ่งตามวิธีการสอนจะได้ 2 แบบ คือ1. ชั้นเรียนแบบธรรมดา2. ชั้นเรียนแบบนวัตกรรมการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถรับผิดชอบควบคุมดุแลตนเอง ได้ในอนาคต การจัดบรรยากาศมีทั้งด้านกายภาพ เป็นการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนทั้งการจัดตกแต่งในห้องเรียน จัดที่นั่ง จัดมุมเสริมความรู้ต่างๆ ให้สะดวกต่อการเรียนการสอน ทางด้านจิตวิทยา เป็นการสร้างความอบอุ่น ความสุขสบายใจให้กับผู้เรียน ผู้สอนควรจัดบรรยากาศทั้ง 2 ด้านนี้ให้เหมาะสม นอกจากนี้การสร้างบรรยากาศการเรียนรุ้ให้เกิดความสุขแก่ผู้เรียนเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งที่จะสร้างคุณลักษณะนิสัยของการใฝ่เรียนรู้ การมีนิสัยรักการเรียนรู้ การเป็นคนดี และการมีสุขภาพจิตที่ดี สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขทั่งในปัจจุบันและอนาคตต่อไป ซึ่งบุคคลสำคัญที่จะสร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างมีความสุขให้เกิดขึ้นได้คือ ครูผู้นำทางแห่งการเรียนรู้นั่นเอง
ใบงานที่ 9

บุคคลที่คุณคิดว่าเป็นผู้นำในทัศนคติของคุณ

นายปรีดี พนมยงค์ เป็นคนไทยผู้มีความสำคัญยิ่งในศตวรรษนี้ ท่านมีบุคลิกภาพเข้มแข็ง มีสายตา อันยาวไกล อุทิศตนเพื่อ รับใช้ ชาติด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีผลงานมากมายเป็นที่ปรากฎ และมีคุณธรรม อันประเสริฐเป็นแนวทางแห่งชาติ เช่นเดียวกับ บุคคลสำคัญ อื่น ๆ ในประวัติศาสตร์ ชื่อของนายปรีดี จักดำรงอยู่ต่อไปแม้หลังจากท่านได้สิ้นชีวิตจากโลกนี้ไปแล้ว ทั้งนี้เพราะ ความคิดของท่านตั้ง อยู่บนฐาน ของคุณฐรรมสากลอันยังประโยชน์ได้แม้ในปัจจุบันกาล เป็นแรงบันดาลใจให้กับคนหนุ่มสาว ชาวไทย จำนวนไม่น้อยแม้ในหมู่ผู้ที่เคย ปฏิเสธความคิดของท่านมาก่อน ได้หวนกลับมาศึกษาทบทวนได้ค้นพบ ความคิดและ วิสัยทัศน์ ของนายปรีดีที่มุ่งมั่นให้เกิดสังคมที่ดีงามยิ่งขึ้น
นายปรีดี พนมยงค์ เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2443 บนแพทางด้านใต้ของคูเมืองอยุธยา ราชธานีเก่าแห่งสยาม ท่านเป็น บุตรชายคนโตของครอบครัวกสิกรฐานะดีสำเร็จการศึกษาระดับมัฐยมเมื่ออายุเพียง 14 ปี ซึ่งเยาว์เกินกว่าจะเรียนต่อในสถาบัน การศึกษาขั้นสูงได้ นายปรีดีจึงช่วยครอบครัวทำนาที่อำเภอวังน้อยอีกสองปี ก่อนที่จะเข้าเรียนในโรงเรียนกฎหมายใน ปี 2460 สองปีต่อมาจึงสำเร็จเป็นเนติบัณฑิต พร้อมกับได้รับทุนจากกระทรวงยุติธรรมให้ ไปศึกษาต่อด้านกฎหมาย ท ี่ ประเทศฝรั่งเศสในปี 2463 ท่านได้รับปริญญารัฐเป็น " บาเชอลิเยอร์" กฎหมาย และ "ลิซองซิเย" กฎหมาย จาก มหาวิทยาลัยก็อง และในปี 2469 ได้รับ ปริญญารัฐเป็น "ดุษฎีบัณฑิตกฎหมาย"ฝ่ายนิติศาสตร์ และประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูงในทางเศรษฐกิจจากมหาวิทยาลัยปารีส นับเป็นคนไทยคนแรกที่สำเร็จการศึกษา ระดับนี้ หลังจากกลับสู่สยาม ได้หนึ่งปี ในเดือนพฤศจิกายน 2471 นายปรีดีได้สมรสกับ นางสาวพูนศุข ณ ป้อมเพชร์ มีบุตรธิดาด้วยกันหกคน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2470 ระหว่างที่ยังศึกษาอยู่ในกรุงปารีส นายปรีดีและนักเรียนไทยพร้อมทั้งข้าราชการไทย อีกหกท่าน ซึ่งต่อมาได้เป็นแกนนำของคณะราษฎรได้จัดประชุมครั้งประวัติศาสตร์ขึ้น พวกเขาได้ตั้งปณิธาน ร่วมกันในอันที่จะเปลี่ยนระบอบการปกครองการสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่ระบอบกษัตริย์ที่อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ คณะดังกล่าวได้เลือกนายปรีดีเป็นผู้นำชั่วคราว คณะราษฎรได้วางหลักหกประการเป็นเป้าหมายเพื่อนำความก้าวหน้าทั้ง ด้านวัตถุ และจิตใจสู่สยาม อันได้แก่ 1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ ให้มั่นคง 2. จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก 3. จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจโดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฎรทุกคนทำจะวางโครงการ เศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก 4. จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน 5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการ ดังกล่าวข้างต้น 6. จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร ในช่วงต่อมาของปี 2470 นายปรีดีได้กลับมายังสยาม และเข้ารับราชการในกระทรวงยุติธรรม ตำแหน่งผู้พิพากษา และต่อมา ได้เป็นผู้ช่วยเลขานุการกรมร่างกฎหมาย ในขณะเดียวกันท่านได้ตั้งโรงพิมพ์เพื่อพิมพ์ตำราและเอกสารด้านกฎหมายทั้งท่านยังได้เป็น ผู้สอนที่โรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรมอีกด้วย กระนั้นความใฝ่ฝันของท่านที่จะเห็นการพัฒนาด้านการเมือง และสังคมและ เศรษฐกิจของประเทศมิเคยจืดจางลง การอภิวัฒน์ในปี 2475 ช่วยถางทางให้นายปรีดีดำเนินการตามวิสัยทัศน์ของตน เพื่อให้เกิดสังคมที่ดีงามและยุติธรรมกว่าเดิม ย่ำรุ่งของวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎรอันประกอบด้วยข้าราชการนายทหาร และราษฎรสามัญ ได้ยึดอำนาจจากรัฐบาล อย่างรวดเร็วและปราศจากการสูญเสียเลือดเนื้อ เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่ระบอบราชา ประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประกาศใช้ รัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ฉบับที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 เป็น กฎหมายสูงสุดของประเทศ นายปรีดีผู้นำพลเรือนแห่งคณะราษฎรได ้เป็นผู้ร่างธรรมนูญการปกครองฉบับดังกล่าว และนำมาเป็นพื้นฐานการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับต่อมา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ฉบับที่ 10 พุทธศักราช 2475 ด้วางรากฐานที่หนักแน่นสำหรับการเติบโตและพัฒนาการด้าน ประชาธิปไตยในสยามทั้งนี้โดยมีสาระสำคัญต่อสังคมและวัฒนธรรม การเมืองไทยสองประการดังนี้ ประการแรก อำนาจสูงสุดต้องตกอยู่กับปวงชนชาวสยาม ประการที่สอง กำหนดให้แยกอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจ ตุลาการออกจากกันอย่างชัดเจน หลักการทั้งสองได้ปฏิรูปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจทั้งหมดของประเทศ และเพาะเมล็ดแห่งประชาธิปไตยขึ้นในสยาม ระหว่างปี 2475 ถึง 2490 นายปรีดีได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญหลายตำแหน่งได้แก่ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ และนายกรัฐมนตรี ี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่อง นายปรีดี พนมยงค์ ไว้ในฐานะรัฐบุรุษอาวุโส และให้มีหน้าที่รับปรึกษากิจราชการแผ่นดิน เพื่อความวัฒนาถาวรของชาติ สืบไป ในช่วงที่รับราชการ และเป็นผู้นำรัฐบาลนายปรีดี ได้เพียรพยายามที่จะดำเนินการให้หลักหกประการของ คณะราษฏรเป็นจริงขึ้นมา คุณูปการของท่านหลายประการได้ส่งผลยั่งยืนสืบมา อาทิ การร่างแผนเค้าโครงการเศรษฐกิจ การสถาปนามหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ และการเมืองพระราชบัญญัติเทศบาลปี 2476 ที่มอบอำนาจให้ประชาชนเลือกตั้ง องค์การ บริหารส่วนท้องถิ่นได ้ การยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาค ที่รัฐบาลสยามได้ถูกชาติมหาอำนาจบีบ ให้ลงนาม การปฏิรูประบบการ จัดเก็บภาษีอากร ที่ไม่เป็นธรรม การจัดทำประมวล รัษฎากร ขึ้นเป็นครั้งแรกและการจัดตั้งองค์กร ซึ่งในเวลาต่อมากลายเป็นธนาคารแห่งประเทศไทย ในระหว่างสงคราม โลกครั้งที่สอง กองทัพ ญี่ปุ่นได้กรีฑาทัพเข้ายึด ประเทศสยาม แม้ในขณะที่ยังเป็นผู้สำเร็จราชการแทนองค์ นายปรีดีได้เป็นผู้นำขบวน การเสรีไทยเพื่อต่อต้านการยึด ครองของญี่ปุ่น อย่าง ลับ ๆ ยังผลให้ในเวลาต่อมารัฐบาล สหรัฐอเมริกายอมรับถึงปฏิบัติการร่วมมืออย่าง ห้าวหาญของ ขบวน การเสรีไทยในการต่อต้านญี่ปุ่น และได้ถือว่าสยามเป็นประเทศเอกราชที่ถูกหักหาญยึดครองโดยกองกำลังทหาร ของญี่ปุ่นไม่เข้าข่ายเป็นประเทศคู่สงครามกับ กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร และได้รับการยกเว้นจากมาตรการควบคุม ภายหลังสงคราม ในวันที่ 16 สิงหาคม 2488 ตามคำแนะนำของลอร์ดหลุยส์เมาน์ทแบตเทน ซึ่งเป็นผู้บัญชาการกองทัพสัมพันธมิตรภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ นายปรีดีในฐานะที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และผู้นำขบวนการเสรีไทย ได้ประกาศให้คำประกาศของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามที่เข้าสู่สงครามกับฝ่ายพันธมิตรโมฆะ เพราะขัดกับเจตนารมณ์ของประชาชนชาวสยาม คุณูปการของเสรีไทยได้ช่วยให้ไทยได้มีสันติภาพและได้รับสถานภาพเดิมก่อนสงครามกลับคืนมา ห้าสิบปีต่อมา ในปี 2538 รัฐบาลได้ยกย่องคุณูปการนี้และประกาศให้วันที่ 16 สิงหาคมเป็นวันสันติภาพไทย ตลอดห้วงแห่งความวุ่นวายทางการเมือง นายปรีดีไม่เคยเสื่มอศรัทธาจากการปลูกฝังวิถีแห่งประชาธิปไตยให้เกิดขึ้น ท่านได้เพียรพยายามทุกวีถีทางที่จะปกป้องดูแลระบอบประชาธิปไตยที่เปรียบเสมือนทารกให้เติบโตขึ้นต่อไป นายปรีดีไม่เคยประพฤติตนอย่างชนชั้นนำร่วมสมัยของท่านที่ขาดความเชื่อมั่นและความจริงใจกับราษฎร ท่านมีศรัทธาอย่า เต็มในมหาชน ในบทความเรื่อง "อนาคตของประเทศไทยควรดำเนินไปในรูปใด" พิมพ์เมื่อปี 2516 นายปรีดีได้กล่าวอย่างซาบซึ้งถึงแนวคิดของระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วม ซึ่งชี้นำแนวทางการดำเนินงานของท่านมาจนตลอดชีวิตไว้ว่า "ระบบเพื่อประโยชน์ของชนจำนวนน้อยจะคงอยู่ชั่วกัลปวาสานไม่ได้ อนาคตจะต้องเป็นของราษฎรซึ่งเป็นพลเมืองส่วนข้างมาก ความอยุติธรรมทางสังคมจักต้องถูกกำจัดให้หมดสิ้นไป" นายปรีดีตระหนักดีว่าสังคมเราจะเป็นประชาธิปไตยได้ก็ต่อเมื่อคนจำนวนมากได้รับการคุ้มครองสิทธิและได้รับโอกาสพัฒนาตนเอง ท่านทราบดีว่าการให้แต่เสรีทางการเมือง โดยไม่ส่งเสริมโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมแก่ชนเหล่านั้นไม่ใช่เรื่องถูกต้องท่านพยายาม ที่จะทำลายระบบศักดินาและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจเพื่อให้เกิดสังคทที่ดีงามขึ้น ท่านปรารถนา ที่จะส่งเสริมให ้เกิดความ สามัคคีและความเข้าใจกันในระหว่างคนร่วมชาติ เพื่อให้พวกเขาได้พัฒนาตนเอง ให้เกิดความใส่ใจและเอื้ออาทรซึ่งกันและกันอันต่าง จากระบบที่ส่งเสริมการแข่งขันอย่างทำลายซึ่งเป็นการสูญพลังไปโดยเปล่าประโยชน์นายปรีดีมีวิสัยทัศน์มุ่งให้ประชาชนทั้งมวลมี ส่วนร่วมในการเสียสละเพื่อความไพบูลย์ของสังคมร่วมกัน นายปรีดีได้กล่าวถึงเรื่องนี้อย่างชัดเจนว่า "สังคมจะดำรงอยู่ได้ก็โดยมวลราษฎรดังนั้นระบบสังคมที่ทำให้มวลราษฎรมีพลังผลักดันให้สังคมก้าวหน้าก็คือระบบประชาธิปไตย "ท่านยังได้เสริมว่าเนื่องจากสังคมประกอบด้วยมิติต่าง ๆ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม นายปรีดีและคณะเห็นความจำเป็นที่ราษฎรจะต้องเข้าใจระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างถ่องแท้ ต้องตระหนักถึงสิทธิใหม่ของตนเอง รวมทั้งหน้าที่ความรับผิดชอบภายใต้ระบบที่สถาปนาขึ้นมาใหม่นี้ ดังนั้นในปี 2477 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายปรีดีได้สถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองขึ้นท่านดำรงตำแหน่งผู้ประศาสน์การคนแรกของมหาวิทยาลัย ที่เปิดหลักสูตรการเรียนอย่างหลากหลายเหมือนเป็นตลาดวิชา ซึ่งรวมทั้งวิชาด้านนิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ดังที่ท่านได้สะท้อนอุดมคติของท่านในสุนทรพจน์ที่กล่าวในพิธีเปิดมหาวิทยาลัยว่า " มหาวิทยาลัยย่อมอุปมาประดุจบ่อบำบัดความกระหายของราษฎรผู้สมัครแสวงหาความรู้ อันเป็นสิทธิและโอกาสที่เขาควรมีควรได้ตามหลักแห่งเสรีภาพในการศึกษารัฐบาลและสภาผู้แทนความจำเป็นในข้อนี้จึงได้ตรา พระราช บัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้น.. ...ยิ่งสมัยที่ประเทศของเราดำเนินการปกครองตามระบอบรัฐธรรมนูญเช่นนี้แล้วเป็นการจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมหาวิทยาลัยสำหรับประศาสน์ความรู้ในวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองแกพลเมืองให้มากที่สุดที่จะเป็นไปได้เปิดโอกาสให้แก่พลเมืองที่จะใช้เสรีภาพในการศึกษากว้างขวางยิ่งขึ้นเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติสืบไป" หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้กลายเป็นสถาบันนำในการช่วยส่งเสริม และปกป้องระบอบประชาธิปไตยในเวลาต่อมา พร้อมกันนั้น นายปรีดียังมุ่งมั่นให้เกิดภาพระดับนานาชาติ ในฐานะรัฐมนตรีภายใต้รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ท่านได้แสดงความไม่เห็นด้วยอยู่เนืองๆ กับนโยบายการเรียกร้องเอาดินแดนคืน อาทิ แผนการยึดคืนดินแดนในอินโดจีนที่อยู่ภายใต้ อารักขาฝรั่งเศส ในระหว่างที่ประเทศฝรั่งเศสถูกยึดครองโดยกองทัพเยอรมันในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง อีกตัวอย่างหนึ่งได้แก่ ความพยายามของ ท่านที่จะบอกกันานาประเทศให้ทราบว่า การใช้ความรุนแรงเข้าห้ำหั่นกันเป็นสิ่งสูญเปล่า โดยตรงสร้างภาพยนตร์เป็น ภาษาอังกฤษ เรื่อง พระเจ้าช้างเผือก ขึ้นเป็นอุทาหรณ์ นายปรีดีสนับสนุนการกำหนดใจตนเองและอิสรภาพของประเทศอาณานิคมทั้งหลายซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนในระหว่างที่ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นโยบายต่างประเทศดังกล่าวเป็นองค์ประกอบด้านสากลส่วนหนึ่งเพื่อเสริมรับกับการปฏิรูปสังคมและระบอบประชาธิปไตยของสยามเอง ทั้งนี้เพราะประเทศเหล่านั้นมุ่งที่จะให้อำนาจกับประชาชนให้เกิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานอันเป็นสิ่งจำเป็นในการกำหนดชะตากรรมของ ตนเองท่านได้ร่วมก่อตั้งสันนิบาตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดสันติสุขโดยจะร่วมมือประสานงานกันระหว่าง ประเทศในภูมิภาคนี้ นายปรีดียังเป็นผู้กำหนดโครงสร้างของรัฐธรรมนูญฉบับ 9 พฤษภาคม 2489 ซึ่งถือได้ว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดฉบับหนึ่ง รัฐธรรมนูญฉบับนี้สะท้อนถึงการบรรลุซึ่งความพยายามอย่างไม่ย่อท้อของนายปรีดี ที่มุ่งให้เกิดความยุติธรรมในสังคม และเพื่อสถาปนาระบอบประชาธิปไตยอย่างเปี่ยมด้วยสาระและความหมายมิใช่เพียงรูปแบบ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้สิทธิในการออกเสียงอย่างเท่าทียมระหว่างหญิงและชายในการเลือกตั้งสมาชิกของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ทั้งยังมีบทบัญญัติที่มุ่งปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอีกด้วย วันที่ 9 มิถุนายน 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตในห้องพระบรรทมอย่างลึกลับด้วยกระสุนปืนที่พระนลาฏ หลังจากที่ได้เข้าไปที่พระบรมมหาราชวังและสถานที่เกิดเหตุ ทั้งได้ปรึกษากับบรรดาเชื้อพระวงศ์ชั้นผู้ใหญ่แล้ว นายปรีดีได้ออกแถลงการณ์ในฐานะนายกรัฐมนตรีวาการสวรรคตเป็นอุบัติเหตุ ส่งผลให้ศัตรูทางการเมืองของนายปรีดีฉวยโอกาสนี้ปั้นแต่งว่าในหลวงถูกลอบปลงพระชนม์ และใส่ใคร้ว่านายปรีดีเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลอบปลงพระชนม์ คืนวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 คณะนายทหารและพลเรือนได้ทำรัฐประหาร โดยอ้างเหตุลอบปลงพระชนม์เพื่อทำลายนายปรีดี (คำตัดสินชั้นศาลหลายคดีหลังจากนั้นได้ยืนยันถึงความบริสุทธิ์ของนายปรีดี) รถถังยิงกระสุนใส่ทำเนียบท่าช้างซึ่งนายปรีดีและครอบครัวพำนักอยู่ ทำให้ต้องลี้ภัยการเมืองไปสิงคโปร์ ต่อมาในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2492 ด้วยความร่วมมือจากทหารเรือและชาวสยามผู้ศรัทธารัฐบาลประชาธิปไตยจำนวนหนึ่ง นายปรีดีได้ทำการปฏิวัติเพื่อยึดอำนาจกลับคืนมาแต่ไม่สำเร็จ และท่านได้ออกจากประเทศโดยมิได้กลับมาอีกเลย ระหว่างปี 2492 ถึง 2513 ท่านพำนักในสาธารณรัฐประชาชนจีน หลังจากนั้นก็ได้ดำเนินชีวิตอย่างสามัญชนที่บ้านชานกรุงปารีส พร้อมด้วยภริยาและบุตรี ท่านถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2526 ในระหว่างลี้ภัย ท่านได้เขียนหนังสือไว้มากและได้กล่าวสุนทรพจน์หลายต่อหลายครั้ง เพื่อแบ่งปันความคิดด้านประชาธิปไตยสันติภาพ และความยุติธรรมในสังคมของท่านกับคนรุ่นหลัง เมล็ดพันธุ์แห่งประชาธิปไตยที่นายปรีดีได้เพาะไว้เมื่อหกทศวรรษก่อน เริ่มงอกเงย ขึ้นมา ต้นไม้แห่งเสรีภาพของท่านจักเติบโตขยายกิ่งก้านสาขายั่งยืนสืบไปเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับว่ามวลราษฎรสยามเรียนรู้และนำ ความคิดของ ท่านไปใช้อย่างไร
ใบงานที่ 8
ให้ผู้เรียนสรุปรายงานจากกลุ่มที่ 9-10-11-12 ลงในบล็อกของผู้เรียนอย่างย่อ ๆกลุ่มที่ 9 เรื่อง การเขียนโครงการแลละการบริหารรการจัการโครงการเพื่อพัฒนานักเรียนและสถานศึกษา
ตอบ ลักษณะของโครงการที่ดีโครงการเป็นการจัดกิจกรรมที่เป็นระบบ เพื่อการปฏิบัติหน้าที่องค์การให้บรรลุถึงเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโครงการที่ดีย่อมทำให้ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน และผลตอบแทนที่องค์การหรือหน่วยงานจะได้รับอย่างคุ้มค่า อันจะนำมาซึ่งการพัฒนาของหน่วยงานนั้นๆ ซึ่ง ประชุม (2535) ได้สรุปลักษณะที่ดีของโครงการดังต่อไปนี้1. สามารถตอบสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาขององค์การหรือหน่วยงานได้2. มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจน สามารถดำเนินงานและปฏิบัติได้3. รายละเอียดของโครงการต้องสอดคล้องและสัมพันธ์กัน กล่าวคือ วัตถุประสงค์ของโครงการต้องสอดคล้องกับหลักการและเหตุผล วิธีการดำเนินงานต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เป็นต้น4. รายละเอียดของโครงการสามารถเข้าใจได้ง่าย สะดวกต่อการดำเนินงานตามโครงการ5. เป็นโครงการที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ สอดคล้องกับแผนงานหลักขององค์การและสามารถติดตามประเมินผลได้6. โครงการต้องกำหนดขึ้นจากข้อมูลที่มีความเป็นจริง และเป็นข้อมูลที่ได้รับการวิเคราะห์อย่างรอบคอบ7. โครงการต้องได้รับการสนับสนุนในด้านทรัพยากร และการบริหารอย่างเหมาะสม8. โครงการต้องมีระยะเวลาในการดำเนินงาน กล่าวคือต้องระบุถึงวันเวลาที่เริ่มต้น และสิ้นสุดโครงการข้อสังเกต โครงการที่กำหนดขึ้นแม้เป็นโครงการที่มีลักษณะดีเพียงใด แต่ตัวโครงการก็ไม่อาจแก้ไขปัญหาต่างๆ ขององค์การ หน่วยงาน หรือ สังคมของชนกลุ่มใหญ่ ตามที่ได้เขียนไว้ในโครงการได้ทั้งหมด เพราะการดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ในโครงการยังมีส่วนประกอบหรือปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่อาจทำให้การดำเนินงานของโครงการบรรลุถึงเป้าหมายอย่างด้อยประสิทธิภาพ นอกจากนี้โครงการหนึ่งอาจเป็นโครงการที่ดีที่สุดในระยะหนึ่ง แต่อาจเป็นโครงการที่ใช้ประโยชน์ได้น้อยในอีกเวลาหนึ่งก็เป็นไปได้ผู้เขียนหรือกลุ่มผู้เขียนโครงการอาจจะเป็นคนละคนกับผู้ดำเนินงานตามโครงการหรืออาจจะเป็นคนๆ เดียวกันหรือกลุ่มๆเดียวกันก็ย่อมได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะปัจจัยหลายประการ เช่น ขนาดและชนิดขอโครงการลักษณะของโครงการและอื่นๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าโครงการจะมีขนาดเช่นใด ชนิดและประเภทใด ย่อมต้องมีรูปแบบ (Form) หรือโครงสร้าง (Structure) ในการเขียนที่เหมือนกันดังนี้ 1. ชื่อโครงการ2. หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ3. ผู้รับผิดชอบโครงการ4. หลักการและเหตุผล5. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย6. วิธีดำเนินการ7. แผนปฏิบัติงาน8. ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ9. งบประมาณและทรัพยากรที่ต้องใช้10. การติดตามและประเมินผลโครงการสรุปแล้วการเขียนโครงการแบบประเพณีนิยมจะต้องมีเนื้อหาสาระที่ละเอียดชัดเจนเฉพาะเจาะจง โดยรูปแบบของโครงการจะสามารถตอบคำถามดังต่อไปนี้ได้ คือ1. โครงการอะไร หมายถึง ชื่อโครงการ2. ทำไมต้องทำโครงการนั้น หมายถึง หลักการและเหตุผล3. ทำเพื่ออะไร หมายถึง วัตถุประสงค์4. ทำในปริมาณเท่าใด หมายถึง เป้าหมาย5. ทำอย่างไร หมายถึง วิธีดำเนินการ6. ทำเมื่อใดและนานแค่ไหน หมายถึง ระยะเวลาดำเนินการ7. ใช้ทรัพยากรอะไร เท่าใด และได้จากไหน หมายถึง งบประมาณและทรัพยากรอื่นๆ8. ใครทำ หมายถึง ผู้รับผิดชอบโครงการ9. ต้องทำกับใคร หมายถึง หน่วยงานหรือบุคคลที่ให้การสนับสนุน10. ทำได้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายหรือไม่ หมายถึง การประเมินผล11. เกิดอะไรขึ้นเมื่อสิ้นสุดโครงการ หมายถึง ผลที่คาดว่าจะได้รับ12. มีปัญหาอุปสรรคหรือไม่ หมายถึง ข้อเสนอแนะโครงการทุกโครงการ หากผู้เขียนโครงการสามารถตอบคำถามทุกคำถามดังกล่าวได้ ทั้งหมดอาจถือได้ว่าเป็นการเขียนโครงการที่มีความสมบูรณ์ในรูปแบบ และหากการตอบคำถามได้อย่างมีเหตุผลและมีหลักการ ย่อมถือได้ว่าโครงการที่เขียนขึ้นนั้นเป็นโครงการที่ดี นอกจากจะได้รับการพิจารณาอนุมัติโดยง่ายแล้ว ผลของการดำเนินงานมักจะมีประสิทธิภาพด้วยปัญหาในการเขียนโครงการในการเขียนโครงการนั้นเป็นการกำหนดกิจกรรมต่างๆ หรือกิจกรรมที่จะทำในอนาคตโดยอาศัยข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นตัวกำหนดกิจกรรมในโครงการ เมื่อเป็นเช่นนี้หากเป็นโครงการที่ดีย่อมนำมาซึ่งคุณภาพและประสิทธิภาพของหน่วยงาน โครงการบางโครงการเมื่อเขียนขึ้นมาแล้วไม่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้ เนื่องจากปัญหาต่างๆ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถที่แท้จริงในการเขียนโครงการ โครงการจำนวนไม่น้อยที่เขียนขึ้น โดยบุคคลที่ไม่มีความรู้ความสามารถในเรื่องนั้น ขาดข้อมูลที่มีความเป็นจริง หรือขาดข้อมูลที่จะต้องใช้จริง ผู้เขียนโครงการเขียนโครงการโดยได้รับการมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาผลจากการเขียนโครงการในลักษณะนี้จะทำให้เกิดปัญหาแก่ผู้ปฏิบัติโครงการในการจะนำเอาโครงการไปปฏิบัติให้เกิดเป็นผลได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ2. ระยะเวลาที่ใช้ในการเขียนโครงการ หลายโครงการประสบปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำโครงการในระยะอันสั้น ทำให้ไม่สามารถที่จะศึกษาข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างละเอียด ข้อมูลบางชนิดขาดการวิเคราะห์ที่ดีพอ เมื่อเขียนโครงการขึ้นมาแล้วจึงขาดความชัดเจนของข้อมูล จึงเป็นปัญหายุ่งยากในการนำเอาโครงการไปปฏิบัติ3. ขาดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ในการเขียนโครงการบางโครงการขาดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการเขียนโครงการ เป็นผลให้เกิดความยุ่งยากต่อการตรวจสอบ ควบคุมและติดตามการดำเนินงาน และมีผลสืบเนื่องถึงการประเมินผลโครงการด้วย4. การเขียนโครงการเป็นเรื่องของอนาคต ที่อาจมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น อันเป็นผลมาจากตัวแปรต่างๆ ที่ผู้เขียนโครงการไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ภัยธรรมชาติต่างๆ หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ได้แก่ การเมือง เศรษฐกิจ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีผลกระทบต่อการดำเนินงานทั้งสิ้นและเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ จึงเป็นปัญหาอย่างสำคัญของการเขียนโครงการ5. ขาดการสนับสนุนจากผู้บริหารองค์การ ในบางครั้งการเขียนโครงการ แม้จะเขียนดีเพียงใด หากผู้บริหารไม่ให้ความสนใจขาดการสนับสนุนในเรื่องงบประมาณ และทรัพยากรต่างๆที่จำเป็นต่อการทำโครงการอย่างเพียงพอ ย่อมจะสร้างปัญหาให้แก่การดำเนินโครงการได้เช่นเดียวกัน6. ขาดการประสานงานและร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โครงการบางโครงการจำเป็นที่จะต้องมีการประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ เพื่อให้โครงการที่ทำอยู่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โครงการที่จะสำเร็จได้จะต้องได้รับความร่วมมือจากองค์กรหรือหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติตามโครงการด้วย หากขาดการประสานงานและร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแล้วก็จะทำให้เกิดปัญหาในการทำโครงการ โครงการดังกล่าวก็บรรลุวัตถุประสงค์ได้ยากหรืออาจจะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ก็ได้กลุ่มที่ 10 การเขียนโครงการและการบริหารจัดการโครงการเพื่อพัฒนานักเรียนและสถานศึกษาตอบ โครงการ คือเค้าโครงของกิจกรรมที่กำหนดไว้เพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาตามความต้องการของหน่วยงาน มีลักษณะเป็นแนวทางการดำเนินงานที่บอกถึงความเป็นมา วิธีหรือขั้นตอนการดำเนินงาน ทรัพยากรที่จะใช้ รวมถึงผลสำเร็จที่ต้องการให้เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้มีอำนาจอนุมัติ ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมองเห็นภาพตลอดแนวและมีทิศทางในการดำเนินงานเดียวกัน องค์ประกอบของโครงการ โครงการมีองค์ประกอบหลักๆ อยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนนำและส่วนโครงการ ซึ่งจะนำเสนอ ดังต่อไปนี้ 1. ส่วนนำ ส่วนนำโครงการ เป็นส่วนที่เขียนเพื่อให้เข้าใจว่า โครงการนี้ชื่ออะไร มีลักษณะอย่างไร ใครเป็นผู้รับผิดชอบ และจะดำเนินการเมื่อไร โดยปกติจะอยู่ส่วนต้นของการเขียนโครงการ ประกอบด้วย 1.1 ชื่อโครงการ การเขียนชื่อโครงการควรบอกได้ว่า จะทำอะไร ทำอย่างไร เรื่องอะไร กับใคร นิยมเขียนโดยขึ้นต้นด้วยคำนาม วิธีการ และตามด้วยเรื่องที่จะทำ เช่น “ การประชุมปฏิบัติการเขียนแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2552 ” เป็นต้น 1.2 แผนงบประมาณ เป็นการระบุที่มาของงบประมาณ ว่าโครงการนี้ ขอใช้งบประมาณในแผนใด เช่น “เงินงบประมาณ เงินอุดหนุน เงินนอกงบประมาณ ” 1.3 สนองกลยุทธ์ เพื่อให้ทราบว่า โครงการนี้ดำเนินงานตามกลยุทธ์ข้อใดของหน่วยงาน เช่น “กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาระบบบริหารจัดการของโรสงเรียนให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ” 1.4 ผู้รับผิดชอบโครงการ ให้ระบุชื่อ สกุลของผู้รับผิดชอบโครงการ โดยจะระบุตำแหน่งด้วยหรือไม่ก็ได้ เช่น “นางแก้ว กัลยาณี หัวหน้ากลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม” 1.5 หน่วยงานที่รับผิดชอบ ควรระบุ ถึงระดับงาน เช่น “งานแผนงาน โรงเรียนเตรียมอุดม ศึกษาพัฒนาการดอนคลัง”1.6 ลักษณะของโครงการ โดยทั่วไปจะมี 2 ประเภท ได้แก่ 1.6.1 โครงการใหม่ คือโครงการที่จัดทำขึ้นใหม่ ในปีนั้น และสามารถดำเนินการได้เสร็จภายในปีงบประมาณเดียว1.6.2.โครงการต่อเนื่อง คือโครงการที่มีลักษณะต่อเนื่องจากปีที่แล้วมา อาจเป็นโครงการที่ไม่สามารถ2. ส่วนโครงการ เป็นส่วนที่กล่าวถึง เนื้อหาของการจัดทำโครงการ ประกอบด้วย 2.1 หลักการและเหตุผล ควรบอกถึงความเป็นมา เหตุผลความจำเป็นที่จะต้องจัดทำโครงการนี้ ซึ่งอาจมาจาก 2.1.1 นโยบายของรัฐ นโยบายของหน่วยเหนือ หรือนโยบายของหน่วยงานเอง 2.1.2 ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2.1.3 สภาพปัญหา 2.1.4 ความต้องการในการพัฒนา ควรเขียนให้กระชับ ไม่เยิ่นเย้อ ประมาณ 15-25 บรรทัด และสามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจและเห็นความสำคัญของการจัดทำโครงการได้ นิยมเขียนโดยภาพกว้างก่อน เช่น นโยบาย หรือปัญหา แล้วจึงลงมา ถึงตัวโครงการ 2.2 วัตถุประสงค์ เป็นหัวข้อที่สำคัญที่สุดของโครงการ ผู้อนุมัติโครงการจะพิจารณาความเหมาะสมของหัวข้อนี้เป็นพิเศษ ต้องเขียนให้ชัดเจนไม่คลุมเครือ มีความเป็นไปได้ วัดได้ เช่น “ เพื่อให้คณะครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการดอนคลัง สามารถใช้เครือข่ายสารสนเทศ สำหรับการเรียนการสอนได้”2.3 เป้าหมาย ปัจจุบันนิยมเขียนโดยระบุปริมาณหรือคุณภาพที่ต้องการขั้นต่ำ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของ จำนวน ร้อยละ หรือระดับคุณภาพ เช่น “จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้เครือข่ายสารสนเทศเพื่อการศึกษา ให้กับคณะครูโรงเรียนบ้านเปียงหลวง จำนวน 20 คน” หรือ “คณะครูโรงเรียน บ้านเปียงหลวง อย่างน้อยร้อยละ 80 สามารถใช้ระบบเครือข่ายในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนได้ในระดับดี” เป็นต้น 2.4 กิจกรรม / ระยะเวลา มีรูปแบบการเขียนหลายแบบ อยู่ที่ว่าผู้เขียนโครงการจะเลือกใช้แบบใด เช่น ตาราง แบ่งเป็นข้อ แต่จะต้องแสดงกิจกรรม ขั้นตอน ระยะเวลา การทำงานตามลำดับ ให้เห็นว่าจะทำกิจกรรมอะไรบ้าง เมื่อไร ผู้รับผิดชอบในแต่ละรายกิจกรรมคือใครไว้อย่างชัดเจน เพราะการเพิ่ม ลด งบประมาณจะพิจารณาเป็นรายกิจกรรม ดังนั้นจึงไม่ควรเขียนขั้นตอนหรือกิจกรรมที่กว้างเกินไป เช่น “1. เสนอโครงการ 2.อนุมัติโครงการ 3. ดำเนินการตามโครงการ 4.สรุปรายงานผล” เพราะการเขียนเช่นนี้จะไม่สามารถพิจารณาได้ว่าโครงการมีกิจกรรมอะไรบ้างเหมาะสมหรือไม่เพียงใด 2.5 งบประมาณ ต้องบอกรายละเอียดของการใช้งบประมาณแต่ละรายการให้ชัดเจนถูกต้อง เช่น ค่าห้องประชุม กี่วัน วันละเท่าไร ค่าอาหารว่าง หรืออาหารกลางวัน กี่คน กี่วัน คนละเท่าไร ค่าเอกสารกี่เล่ม เล่มละเท่าไร รวมแล้วทั้งหมดเป็นงบประมาณที่จะขอใช้เท่าใด และต้องแยกรายการงบประมาณให้ถูกต้องตามหมวดค่าใช้จ่ายด้วย ได้แก่ - ค่าตอบแทน เช่น ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าเบี้ยประชุมกรรมการ ค่าอาหารทำการนอกเวลา เป็นต้น - ค่าใช้สอย เช่น ค่าจ้างเหมาบริการ เช่น อาหารว่าง อาหารกลางวัน ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเช่น เบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ ค่าที่พัก เป็นต้น - ค่าวัสดุ เช่น วัสดุที่ใช้ในการฝึกอบรม และใช้ในการประชุม เช่น กระดาษ กรรไกร กาว แฟ้มเอกสาร เป็นต้น 2.6 การประเมินผล เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ทราบว่าโครงการประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด องค์ประกอบของการประเมินผล มีดังนี้ - ตัวชี้วัดความสำเร็จ เป็นตัวตอบคำถามว่าจะวัดความสำเร็จของโครงการจากอะไร เช่น จำนวน ร้อยละ หรือเวลา เช่น “ร้อยละของคณะครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการที่สามารถใช้เครือข่ายสารสนเทศได้ในระดับดี” เป็นต้น - วิธีการ ใช้วิธีการใดในการประเมินผลโครงการ เช่น การสำรวจความคิดเห็น การสังเกต การทดสอบ เป็นต้น - เครื่องมือ เครื่องมือที่ใช้ควรสอดคล้องกับวิธีการ เช่น แบบสอบถามความคิดเห็น แบบสำรวจความพึงพอใจ แบบสังเกต แบบทดสอบ เป็นต้น2.7 ผลที่คาดว่าจะได้รับ ต้องเขียนให้เห็นว่าจากการทำโครงการนี้จะมีผลประโยชน์ใดเกิดขึ้นบ้าง อาจเป็นผลในเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ หรือผลลัพธ์ก็ได้ เช่น “เมื่อคณะครูโรงเรียนบ้านเปียงหลวงใช้เครือข่ายสารสนเทศในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนแล้วจะสามารถยกระดับคุณภาพของผู้เรียนให้สูงขึ้นได้”ลักษณะของโครงการที่ดี 1. ต้องสอดคล้องและสนองต่อแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน 2. กระชับ ไม่เยิ่นเย้อควรอยู่ระหว่าง 3-7 หน้า 3. ใช้ภาษาที่เป็นทางการและเข้าใจได้ง่าย 4. มีความเป็นไปได้ 5. วัดและประเมินผลได้ 6. มีองค์ประกอบครบถ้วน 7. ใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ 8. คุ้มค่า 9. แก้ไขปัญหาได้จริง 10. สำเร็จตามเวลาที่กำหนดแนวปฏิบัติในการพัฒนาแผนปฏิบัติการของโรงเรียนเพื่อให้แผนปฏิบัติการของโรงเรียน เป็นแผนปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพซึ่งมีตัวชี้วัดคุณภาพ ดังนี้1. เป็นแผนปฏิบัติการที่อยู่ในกรอบกลยุทธ์ ที่มั่นใจแล้วว่าจะผลสำเร็จตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียน2. เป็นแผนปฏิบัติการที่ไม่มีจุดอ่อน3.เป็นแผนปฏิบัติการที่มีการพิจารณาอย่างรอบคอบ แล้วว่า จะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนหรือ นำไปสู่การแก้ปัญหา พัฒนาการเรียนการสอนสิ่งที่โรงเรียนต้องการพัฒนา2.1 พัฒนาครู ให้เป็นผู้มีความรู้ และสามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร ( ICT ) , E-Learning และส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข2.2 พัฒนาระบบการจัดการข้อมูล สารสนเทศ การใช้ข้อมูลต่างๆ ที่เอื้อต่อการทำงานของบุคลากร และการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM)2.3 พัฒนาผู้เรียน ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา รู้จักแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนอันจะก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร ( ICT ) , E-Learning2.4 พัฒนาโรงเรียน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ที่ได้มาตรฐานและเหมาะสมต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นที่ยอมรับ ศรัทธา และเป็นต้นแบบของโรงเรียนอื่นและชุมชน2.5 สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ที่เข้มแข็งของผู้ปกครองและชุมชนโครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน- การพัฒนาการแนะแนวการศึกษา- กิจกรรมชุมนุม- กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารีโครงการบริหารและการจัดการศึกษา- การพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา- การวัดผล ประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน- การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียน- การนิเทศการเรียนการสอน- การรับนักเรียนและจัดทำสำมะโนผู้เรียน- การส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชนและสถานศึกษาอื่น- การพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนกลุ่มที่ 11 การบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตอบ เรื่องการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา“การบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพ” โดยชี้ให้เห็นว่าผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของการปฏิรูปการศึกษา จึงจำ เป็นที่จะต้องปรับปรุงการผลิตและพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในการปฏิรูปการศึกษา โดยจะต้องสร้างความเข้าใจแก่ผู้บริหารสถานศึกษาในเรื่องต่างๆ เช่น ระบบการศึกษาไทย การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษา การออกแบบและการปรับเปลี่ยนระบบการศึกษา หลักธรรมาภิบาล ความรู้และทักษะพื้นฐานของผู้บริหารการศึกษา และวิชาชีพผู้บริหาร เป็นต้นในการปฏิรูปการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฯได้นิยามคำ ว่า “ผู้บริหารสถานศึกษา” ไว้ 2 นิยาม คือ ผู้บริหารการศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่นๆ อีกหลายอาชีพ แต่ที่กล่าวถึงกันมากคือ ผู้บริหาร เพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างจริงจังและเพื่อสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการทางการศึกษา สถานศึกษาควรดำเนินการดังนี้1. สถานศึกษาจะต้องดำเนินการประกันคุณภาพภายในเป็นประจำทุกปี2. ให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการศึกษา และการทำงานของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการกำหนดเป้าหมายหรือมาตรฐานการศึกษาที่สอดคล้องกับความมุ่งหมายและหลักการตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการที่ชัดเจน และดำเนินงานตามแผน ติดตามประเมินผลการทำงานของตนเองอย่างต่อเนื่อง และนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญ ไม่ใช่มุ่งเน้นการจับผิดหรือให้คุณให้โทษบุคลากรของสถานศึกษา3. การดำเนินการประกันคุณภาพทุกขั้นตอนให้เน้นการประสานงานและการมีส่วนร่วมของทุกกลุ่มทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ บุคลากรทุกคนในสถานศึกษา กรรมการโรงเรียน ผู้ปกครอง บุคลากรของหน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน เขตพื้นที่การศึกษาและภูมิภาคเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการในการให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตามมาตรา 8 ของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ โดยสถานศึกษาควรช่วยเตรียมพร้อมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนัก เห็นคุณค่าและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา4. สถานศึกษาจะต้องจัดทำรายงานประจำปีการศึกษาให้เรียบร้องภายในเดือนเมษายนของทุกปี โดยให้แสดงผลการประเมินคุณภาพการศึกษา แนวทางหรือแผนงานในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาในปีการศึกษาต่อไป แล้วเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่กระทรวงกำหนด และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ตลอดจนสาธารณชน โดยจัดทำรายงานโดยสรุป ปิดประกาศไว้ที่โรงเรียน แจังให้ผู้ปกคองและเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้รับทราบ รวมทั้งมีรายงานฉบับสมบูรณ์ที่พร้อมจะให้ผู้ที่สนใจขอดูได้ตลอดเวลา5. จัดเตรียมเอกสารหลักฐานและข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก ที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียน และแนวทางการจัดการศึกษษ ตามหลักการและจุดมุ่งหมายของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ และเตรียมพร้อมเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอก โดยบุคลากรที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกรอบห้าปีประโยชน์ของการประกันคุณภาพการศึกษาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาจะทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีโอกาสได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการและการพัฒนาการศึกษาทุกขั้นตอน ตั้งแต่การกำหนดเป้าหมาย/การวางแผน การทำตามแผน การประเมินผล และการนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงาน นอกจากนี้การประกันคุณภาพการศึกษายังเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องดังนี้· ผู้เรียนและผู้ปกครองมีหลักประกันและความมั่นใจว่าสถานศึกษาจะจัดการศึกษาที่มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด· ครูได้ทำงานอย่างมืออาชีพ ได้ทำงานที่เป็นระบบที่ดี มีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ และเน้นวัฒนธรรมคุณภาพ ได้พัฒนาตนเองและผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ทำให้เป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน· ผู้บริหารได้ใช้ภาวะผู้นำ และความรู้ความสามารถในการบริหารงานอย่างเป็นระบบ และมีความโปร่งใส เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับและนิยมชมชอบของผู้ปกครองและชุมชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและเป็นประโยชน์ต่อสังคม· หน่วยงานที่กำกับดูแลได้สถานศึกษาที่มีคุณภาพและศักยภาพในการพัฒนาตนเอง ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระในการกำกับดูแลสถานศึกษา และก่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพพทางการศึกษา และคุณภาพของสถานศึกษา· ผู้ประกอบการ ชุมชน สังคม และประเทศชาติได้เยาวชนและคนที่ดีมีคุณภาพและศักยภาพที่จะช่วยทำงานพัฒนาองค์กร ชุมชน สังคมและประเทศชาติต่อไปกลุ่มที่ 12 เรื่อง การประเมินคุณภาพการศึกษาตอบ การประเมินคุณภาพการศึกษา การประเมินคุณภาพการศึกษา เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา แต่จะเน้นการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย/คณะ/วิทยาลัย กับตัวบ่งชี้คุณภาพในทุกองค์ประกอบของคุณภาพว่า การดำเนินงานเป็นไปตามเกณฑ์และมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดมากน้อยเพียรไร โดยจัดเป็นระดับของการบรรลุเป้าหมาย1 หลักการประเมินคุณภาพ เนื่องจากการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของอุดมศึกษาเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งเพื่อความอยู่รอด การพัฒนา และความสามารถในการแข่งขันทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของประเทศ เครื่องมือสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาดังกล่าวข้างต้นอย่างต่อเนื่องก็คือ การประเมินคุณภาพการศึกษา ซึ่งต้องครอบคลุมทั้งการประเมินคุณภาพภายนอกสถาบันอุดมศึกษา และการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษา การประเมินคุณภาพภายนอก มีหลักการสำคัญ 5 ประการ ดังต่อไปนี้ 1) เป็นการประเมินเพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องการ ตัดสิน การจับผิด หรือการให้คุณ - ให้โทษ 2) ยึดหลักความเที่ยงตรง เป็นธรรม โปร่งใส มีหลักฐานข้อมูลตามสภาพความเป็นจริง ( Evidence - base ) และมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (Accountability) 3) มุ่งเน้นในเรื่องการส่งเสริมและประสานงานในลักษณะกัลยาณมิตรมากกว่าการกำกับควบคุม 4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพและการพัฒนาการจัดการศึกษาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 5) มุ่งสร้างความสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมายและหลักการศึกษาของชาติตามที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545 โดยให้เอกภาพเชิงนโยบาย แต่ยังคงมีความหลากหลายในทางปฏิบัติที่สถาบันสามารถกำหนดเป้าหมายเฉพาะและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เต็มตามศักยภาพของสถาบันและผู้เรียน2 แนวทางในการประเมินภายใน 1) การประเมินภายในเริ่มด้วยการศึกษาตนเองของมหาวิทยาลัย / คณะ / วิทยาลัยที่รับผิดชอบ 2) ประเมินตามภารกิจหลักทั้ง 4 ประการ ของมหาวิทยาลัย / คณะ / วิทยาลัย 3) ผู้บริหาร / คณาจารย์ และนักศึกษา มีส่วนร่วมในการประเมิน 4) ประเมินเพื่อปรับปรุงคุณภาพการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น3 วัตถุประสงค์การประเมินคุณภาพวัตถุประสงค์ทั่วไป 1) เพื่อให้ทราบระดับคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาในการดำเนินภารกิจด้านต่างๆ 2) เพื่อกระตุ้นเตือนให้สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาการศึกษา และประสิทธิภาพการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง 3) เพื่อให้ทราบความก้าวหน้าของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา 4) เพื่อรายงานสถานภาพและพัฒนาการในด้านคุณภาพและมาตรฐานของสถาบันอุดมศึกษาต่อสาธารณชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
ใบงานที่ 6
1. วัฒนธรรมขององค์กร
ตอบคือพฤติกรรมที่สร้างขึ้นจากคนในองค์กรโดยมีการเรียนรู้ซึ่งกันและกันและยึดถือปฏิบัติกันมาจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในองค์กรนั้นๆ
2.เป็นครูสอนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้สิ่งที่ควรศึกษา
ตอบคือศึกษาพฤติกรรมของคนในสามจังหวัดและปัญหาที่เกิดขึ้นกับโรงเรียนและนักเรียนเหล่านั้นแล้วศึกษาความต้องการของชุมชน โรงเรียนและนักเรียน
3.รูปแบบวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมเกิดขึ้นได้ คือ
ตอบ ในการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมนี้ จะเน้นการถ่ายทอดประสบการณ์ภายในสถานที่ทำงาน ท่ามกลางบรรยากาศของการปฏิบัติหน้าที่ประจำตามปกติโดยมีวิธีการปฏิบัติที่สำคัญ 4 วิธี
1. ใช้การเสวนา (Dialogue) ในการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นซึ่งกันและกัน โดยมีการปฏิบัติดังนี้- เริ่มต้นด้วยหัวข้อของการเสวนา ให้กลุ่มมีการเสวนาร่วมกันคิดพิจารณากันเอง โดยไม่มีการกำหนดข้อสมมติฐานหรือทางเลือกใด ๆ ไว้ล่วงหน้า- ในการเสวนาทุกครั้งให้เกิดประสิทธิภาพ สมาชิกแต่ละคนจะต้องมีความคิดและจิตใจที่เปิดกว้าง ยอมรับข้อคิดเห็นและเหตุผลของกันและกัน- ห้ามนำเอา “อัตตา” และตำแหน่งหน้าที่การงาน มาใช้ในการเสวนา เพราะจะทำให้เกิดเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ร่วมกัน
2. ใช้การอภิปราย (Discussion) มีการจัดเตรียมข้อสมมติฐานและทางเลือกต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้าเพื่อนำมาอภิปรายร่วมกัน
3. ใช้เทคนิคของการบริหารงานเป็นทีม (Team Management) เป็นเรื่องของการใช้ความสามารถของหัวหน้าทีมในความเป็นผู้นำ (Leadership) และความเข้าใจในจิตวิทยาของการบริหารทีมงาน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากผลสำเร็จ หรือความผิดพลาดร่วมกัน
4. ใช้เทคนิคของการบริหารโครงการธุรกิจ (Business Project Management) โดยหลักการบริหารมีหัวหน้าและสมาชิกในโครงการมีจุดเริ่มต้นและกำหนดแล้วเสร็จที่ชัดเจนมีกิจกรรมพร้อมผู้รับผิดชอบตลอดจนมีกระบวนการของการบริหารอย่างเป็นระบบ เช่น- การประเมินงานโครงการ (Estimating)- การวางแผนงานโครงการ (Planning)- การกำหนดกิจกรรมและเวลา (Scheduling)- การปฏิบัติงานตามโครงการ (Implementation)- การติดตามผลความก้าวหน้า (Tracking & Control)- การปรับปรุงแก้ไข (Fine Tuning)- การส่งมอบโครงการ (Hand Over)โดยสมาชิกทุกคนในองค์การจะมีโอกาสได้รับความรู้ความเข้าใจ ในงานทุกขั้นตอนโดยเท่าเทียมกัน
4.การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ การเรียนรู้นับว่าเป็นกิจกรรมที่สำคัญของการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการเรียนรู้ในองค์การมีความแตกต่างจากการเรียนรู้ในระบบการศึกษาที่เป็นทางการ เป็นการเรียนรู้ของผู้ใหญ่และเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมการทำงาน ซึ่งแนวคิดและหลักการของการเรียนรู้เกี่ยวกับองค์การที่สำคัญมีดังนี้1.แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ การเรียนรู้ ( learning ) หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องอันเนื่องมาจากการฝึกหัดหรือประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งอย่างที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ2.หลักการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ทฤษฎีการเรียนการสอนของผู้ใหญ่ ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าผู้ใหญ่แต่ละคนเป็นผู้ซึ่งมีวุฒิภาวะที่สมบูรณ์ ทฤษฎีดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความเชื่อ4ประการ คือ• มโนทัศน์ของผู้เรียน ( Concept of the Learner )• บทบาทของประสบการณ์ของผู้เรียน ( Roles of Learners Experience )• ความพร้อมที่จะเรียนรู้ ( Readiness to Learn )• การนำไปสู่การเรียนรู้ ( Orientation to Learning )ประเภทของการเรียนรู้สามารถจำแนกประเภทของการเรียนรู้ออกได้เป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. การเรียนรู้โดยการจำ เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนพยายามจะรวบรวมหรือเก็บเนื้อหาสาระจากสิ่งที่ต้องการจะเรียนให้ได้มากที่สุด
2. การเรียนรู้โดยการเลียนแบบ เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดนที่ผู้เรียนพยายามลอกเลียนแบบ หรือกระทำตามต้นแบบที่ตนเห็นว่าดีหรือเป็นประโยชน์แก่ตน3. การเรียนรู้โดยการหยั่งรู้ ขั้นตอนของการเรียนรู้ประเภทนี้จะเดขึ้น
3 ขั้นดังนี้• ผู้เรียนมองเห็นหรือมีปฏิกิริยาต่อส่วนรวมของสถานการณ์ทั้งหมดก่อน• ผู้เรียนแยกแยะส่วนรวมเพื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของส่วนย่อยนั้นๆ• ผู้เรียนเกิดความเข้าใจสถานการณ์นั้นอย่างแจ่มแจ้งเรียกว่า เกิดการหยั่งรู้ ( insight )
4. การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนพยายามใช้ทางเลือกหลายๆ ทางเพื่อแก้ปัญหาหรือสถานการณ์วิกฤติที่เกิดขึ้น
5. การเรียนรู้โดยการสร้างมโนคติ การเรียนรู้โดยการสร้างความคิดรวบยอดนั้นเกิดจากการทีผู้เรียนมองเห็นลักษณะรวมของสิ่งนั้นก่อน
ใบงานที่ 5
1.การอยู่ร่วมกันในหอพักนักศึกษา
ตอบในฐานะที่เป็นครู การอยู่ร่วมกันในหอพักนักศึกษานั้น ครูจะต้องความเป็นกันเองกับนักศึกษา มีความยุติธรรมต่อนักศึกษาทุกคนสามารถให้นักศึกษาอยู่ในกฏเกณฑ์ของหอด้วยความจริงใจ และพร้อมช่วยเหลือนักศึกษาในทุกๆด้านพร้องทั้งเป็นตวอย่างที่ดีของนักศึกษา เช่น การทะเลาะเบาะแว้งของนักศึกษาในหอพักครูควรใช้เหตุผลในการตัดสินนักศึกษา
2.การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
ตอบสอนให้นักศึกษาทำงานด้วยความสามัคคี ไม่เอาเปรียบในการทำงานมีความอิสระในการทำงานแบ่งมอบหมายหน้าที่งานอย่างไม่เอาเปรียบเคารพสิทธิเสรีภาพของเพื่อนในกลุ่ม
3.หากทะเลาะกันจะนำหลักการมนุษยสัมพันธ์มาใช้คือ
ตอบ1.อธิบายถึงความสัมพันธ์ของศาสนา
2.ปรับความเข้าใจระหว่าง และ กัน
3.อธิบายถึงการอยู่ร่วมกันที่ดีในสังคม
4.แนวคิดเชิงบวกเป็นอย่างไร
ตอบ1.เปลี่ยนความคิดเชิงตำหนิ กลายมาเป็นยอมรับความจริงของตนเอง
2.หากจะต่อว่าลูกน้อง ให้หาข้อดีของเขาสัก 5 ข้อก่อนจะต่อว่าเขา 1 ข้อ
3.มองให้เห็นว่าสิงที่เรากำลังทำนั้นส่งดีกับใครบ้างอยู่เสมอๆ
4.สร้างวินัยให้กับตัวเองให้เป็นคนที่ทำงานให้เสร็จทันเวลากำหนด
ใบงานที่ 4

1.หลักการทำงานเป็นทีม
ตอบ1.มีอุดมการที่แน่นอน และสมาชิกทุกคนยอมรับ
2.ยึดมั่นในความถูกต้อง
3.ใช้หลักการประนีประนอม
4.ถือหลักการให้อภัยระหว่างกันเสมอ
5.มี่สำนึกในเรื่องสัดส่วนการปฏิบัติงาน ไม่เอาเปรียบ
6.ถือว่าทุกคนีความเท่าเทียมกัน
7.เคารพในสิทธิและเสรีภาพส่นตัวของเพื่อนสมาชิก
8.ถือหลักการไม่มุ่งเอาเด่นคนเดียว
9.รู้จักมองปัญหาให้เป็นเรื่องธรรมดา
10.เปืดใจให้กว้างระหว่างกัน
11.รู้จักแบ่งงาน และ ประสานงาน
12.มีความเป็นอิสระในการทำงานพอสมควร
13.ถือการปฏิบัติกฏระเบียบ อย่างเคร่งครัดเสมอ
14.ยอมรับผิดเมื่อทำผิด
2.ปัจจัยการทำงานเป็นทีม
ตอบ1.บรรยกาศของการทำงานเป็นการเอง คือ ทุกคนช่วยทำงานกันอย่างจริงจัง และจริงใจ
2.ความไว้วางใจกัน คือ เป็นหัวใจสำคัญในการทำงานเป็นทีม มีความซื่อสัตย์ต่อกัน
3.มีการมอบหมายอย่างชัดเจน คือ ยอมรับภารกิจหลักของมีมงาน
4.บทบาท คือ บทบาทในการช่วยรักษาความเป็นทีมงานให้มั่นคง
5.วิธีการทำงาน คือ การสือความ การตัดสินใจ ภาวะผู้นำ การกำหนดกติกา
6.การมีส่วนร่วมในการประเมินผลการทำงานเป็นทีม
7.การพัฒนาทีมงานให้เข้มแข็ง
3.ในฐานะที่เป็นครูจะนำวิธีการทำงานเป็นทีมมาประยุกต์ใช้
ตอบ คือจะนำทั้งหลักและปัจจัยในการทำงานเป็นทีมมาใช้ควบคู่กับการสอนให้มีความลงตัวมากที่สุดทั้งผู้สอน และ ผู้เรียน
ใบงานที่ 3
ให้นักศึกษาอธิบายในประเด็นดังต่อไปนี้
(1.)ความหมายองค์และองค์การ
ตอบ จาก Knowledge Centerองค์การ เป็นศัทพ์บัญญัติจากภาษาอังกฤษว่า organization หมายถึง ศูนย์กลางของกิจการที่รวมประกอบกันขึ้นเป็นหน่วย“องค์กร” เป็นศัพท์บัญญัติตรงกับภาษาอังกฤษว่า organ หมายถึง ส่วนประกอบย่อยของหน่วยใหญ่ ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหรือขึ้นต่อกันและกันพูดง่าย ๆ ก็คือ หลาย ๆ “องค์กร” รวมกันเข้ากลายเป็น “องค์การ” นิยามอื่นๆ ขององค์การองค์การ หมายถึง ระบบที่มีเจตนาที่จะประสานการกระทำของบุคคลตั้งแต่ 2คนขึ้นไปจากChester I. Barnardองค์การ หมายถึง ระบบของการกระทำเฉพาะเจาะจงที่มีจุดมุ่งหมาย และมีลักษณะต่อเนื่องจากMax Weberองค์การ หมายถึง หน่วยทางสังคมหรือการรวมกลุ่มของมนุษย์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อบรรลุเป้าหมายเฉพาะบางประการ ความคิดของข้าพเจ้าคิดว่า องค์การ หรือ องค์การ หมายถึง การทำงานร่วมกันระหว่างคน 2 คนขึ้นไปเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันบางประการที่ได้มีการวางแผนการประสานงานไว้ล่วงหน้าแล้ว การทำงานของกลุ่มคนดำเนินการไปอย่างสม่ำเสมอ ติดต่อกันโดยอาศัยหลักการแบ่งแยกงาน และหลักลำดับชั้นของอำนาจ
(2.)องค์ประกอบของการสื่อสาร
ตอบ การสื่อสาร เป็นกิจกรรมร่วมกันที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร หมายความว่า การสื่อสารจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีองค์ประกอบพื้นฐาน คือ
(1) ผู้ส่งสาร หรือผู้กำหนดสาร (Sender, Source Creator)
(2) สาร (Message, Information)
(3) สื่อ หรือพาหนะ หรือช่องทางในการนำสาร ส่งไป (Media หรือ Channel)
(4) ผู้รับสาร (Receiver)
(5) ปฏิกิริยา หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หลังส่ง-รับสาร (Feed Back)เมื่อมีองค์ประกอบครบพร้อม ต่อไปดูว่าเกิดกระบวนการต่อไปนี้หรือไม่ คือ (1) มีการกำหนดสาร (Message Design & Source Data) โดยผู้ส่งสาร อาจต้องมีการเข้ารหัสของสารด้วย ขึ้นอยู่กับประเภทหรือชนิดของสาร(2) สารถูกส่งไปยังผู้รับ (Process) โดยผ่านกระบวนการต่างๆ ขึ้นอยู่กับประเภทหรือชนิดของสาร
(3) สารที่ส่งออกไปถึงผู้รับปลายทาง และผู้รับก็รับรู้ถึงสารที่ส่งมานั้น (Awareness) และเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ อาจเป็นเชิงบวก (เห็นด้วย ยอมรับ) หรือเชิงลบ (ขัดแย้ง ไม่ยอมรับ) หรือเชิงซ่อน (รู้สึกเฉยๆ ยังไม่ลงความเห็น หรือตัดสินใจในเวลานั้น)นี่คือ Model พื้นฐานที่ใช้อธิบายรูปแบบการสื่อทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารเชิงบูรณาการ (Integrated Communication) การสื่อสารการตลาด-ธุรกิจ (Bussiness & Marketing Communication) การสื่อสารมวลชน (Mass Media Communication) การสื่อสารทางการเมือง (Political Communication) การสื่อสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Development Communicaton) การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสุขภาวะ (Conditional Health Communication) และการสื่อสารการศึกษา (Educational Communication)
(3.)การสื่อสารมีช่องสื่อสารอย่างไรบ้าง
ตอบ ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Channel Communication) เพื่อใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการผ่านทางโครงข่ายโทรคมนาคมช่องทางการสื่อสาร เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของการสื่อสารข้อมูลซึ่งหมายถึง สื่อกลางการส่งผ่านสารสนเทศระหว่างอุปกรณ์ 2 ชนิด โดยการสื่อสารข้อมูลผ่านช่องทางการสื่อสารนี้ ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลจะขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐาน 2 ประการ คือ ความกว้างของช่องสัญญาณและชนิดของข้อมูล ซึ่งคำว่า “ความกว้างของช่องสัญญาณ (Bandwidth)” อาจเปรียบได้กับความกว้างของถนนและ “ชนิดของข้อมูล” อาจเปรียบได้กับชนิดของรถยนต์ดังนั้นการที่ช่องทางการสื่อสารมีแบนด์วิดท์มาก ก็เท่ากับมีถนนหลายเลน รถยนต์สามารถวิ่งผ่านไปมาได้มากและรวดเร็ว แต่ในทางกลับกันหากมีแบนด์วิดท์น้อยก็เท่ากับถนนมีเลนน้อย รถยนต์วิ่งผ่านไปมาได้น้อยและช้า นอกจากนี้แล้วชนิดของข้อมูลก็ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่มีผลกระทบต่อปริมาณ และความรวดเร็วในการสื่อสารกล่าวคือชนิดข้อมูลที่เป็นข้อความจะมีขนาดเล็กทำให้การส่งผ่านข้อมู่ลไปมาทำได้สะดวกรวดเร็วแม้จะมีแบนด์วิดท์น้อยก็ตามแต่ในทางกลับกัน หากช่องทางการสื่อสารนั้นมีแบนด์วิดท์กว้าง แต่ชนิดข้อมูลกลับเป็นไฟล์วิดีโอซึ่งขนาดใหญ่มากก็จะทำให้ส่งผ่านข้อมูลได้ช้า ช่องทางการติดต่อสื่อสารแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด-ช่องทางการสื่อสารแบบมีสาย (Physical_Wire) เช่น สายทวิสเตดแพร์ (Twisted-pair Wire) สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) และเคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber-optic Cable) เป็นต้น-ช่องทางการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) เช่น ไมโครเวฟ (Microwave) ดาวเทียม (Satellite) แสงอินฟราเรด (Infrared) คลื่นวิทยุ (Radio) และเซลลาร์ เป็นต้น
(4.)วัตถุประสงค์ของการสื่อสารมีอะไรบ้าง
ตอบ วัตถุประสงค์การสื่อสาร
1. เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
2. เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
3. เพื่อลดเวลาการทำงาน
4. เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
5. เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
6. เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ
(5.)ในฐานะที่เป็นนักศึกษาครูจะนำวิธีการสื่อสารไปใช้ได้อย่างไร
ตอบ ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของธุรกิจหรือหน่วยงานใด ๆ ก็ตามจะต้องอาศัยการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ ความคิด อันก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกันงานด้านการติดต่อสื่อสารจึงเป็นหัวใจสำคัญของงานเลขานุการ ที่จำเป็นจะต้องมีความสามารถในการสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการพูด การฟัง การเขียน การอ่าน ตลอดจนมีความสามารถในการใช้เครื่องมือสื่อสารชนิดต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องนอกจากนี้ การติดต่อสื่อสาร (Communication) ยังช่วยให้การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยงานเป็นไปอย่างถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ก่อให้เกิดผลสำเร็จในการปฏิบัติงานฉะนั้น งานด้านการติดต่อสื่อสารจึงเป็นกระบวนการที่ใช้ส่งเรื่องราวข่าวสาร ข้อความ เรื่องและภาพ ไปมาระหว่างกันทั้งภายในหน่วยงาน (Internal Communication) และภายนอกหน่วยงาน (External Communication)สรุป การติดต่อสื่อสาร (Communication) หมายถึง การส่งข้อมูลข่าวสารจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่ง หรือหลายคน เพื่อให้เข้าใจความหมายของข้อมูลข่าวสารที่ผู้ส่งส่งไป และเกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน ซึ่งการส่งข่าวสารอาจอยู่ในรูปของการสื่อสารด้วยวาจา ลายลักษณ์อักษร การใช้กิริยาท่าทางอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ โดยอาศัยช่องทางในการติดต่อสื่อสาร
ใบงานที่ 2
เรื่อง ภาวะผู้นำในการบริหารการศึกษา
(1.) นักศึกษาให้ความหมาย ผู้นำ ผู้บริหาร เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ตอบ ผู้นำและผู้บริหารมีความแตกต่างกันดังนี้ผู้นำ คือ บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งขึ้นมา หรือได้รับการคัดเลือกให้เป็นหัวหน้า เป็นศูนย์กลาง เป็นผู้กำหนดเป้าหมาย ประพฤติปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับบทบาท และขณะเดียวกันก็สามารถทำให้สมาชิกภายในกลุ่มปฏิบัติงานร่วมกัน โดยใช้อิทธิพลในความสัมพันธ์ ความสมัคร3สมานสามัคคีกัน ปฏิบัติการ และอำนวยการให้งานเจริญก้าวหน้า และ บรรลุผลสำเร็จเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ผู้บริหาร คือ ผู้ที่แบ่งงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตามความรู้ความสามารถ แล้วนิเทศงานอย่างเป็นระบบ พร้อมให้คำแนะนำอย่างเหมาะสม เพื่อให้งานบรรลุผลอย่างมีคุณภาพ
(2.) นักศึกษาสรุปบทบาทและภาระหน้าที่ของผู้นำ
ตอบ ภาระหน้าที่ของผู้นำไว้ดังนี้
1.การชี้ขาด เมื่อมีปัญหาหรือความขัดแย้งเกิดขึ้น จะต้องเป็นผู้ชี้ขาด
2. การเสนอแนะ หาโอกาสเสนอแนะผู้ใต้บังคับบัญชา โดยหลีกเลี่ยงการใช้คำสั่ง เพื่อรักษาการมีส่วนร่วมเอาไว้
3. การให้เป้าหมาย เป้าหมายขององค์การไม่ได้เป็นไปอย่างอัตโนมัติ แต่จะถูกกำหนดโดยที่ผู้นำกับเพื่อนสมาชิกทุกนในองค์การนั้น
4. การกระตุ้น ผู้นำจะต้องเป็นผู้กระตุ้นให้บุคลากรทุกคนในองค์การปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ และขณะเดียวกันก็สร้างขวัญและกำลังใจในกรปฏิบัติงานด้วย
5. การให้ความมั่นคงด้านการรักษาเจตคติในทางที่ดี และมองโลกในแง่ดีไว้เมื่อเผชิญกับปัญหา
6. การเป็นตัวแทน ผู้นำจะเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มในองค์การ การประพฤติปฏิบัติตัวจะต้องระมัดระวัง เพราะจะมีผลกระทบไปถึงกลุ่มบุคคลในองค์การนั้น
7. การดลใจ ผู้นำจะต้องให้ทุกคนภายในองค์การเห็นคุณค่าและความสำคัญของงาน และให้บริสุทธิ์ใจ
(3.) นักศึกษาจะมีวิธีการพัฒาภาวะผู้นำของนักศึกษาได้อย่างไร
ตอบ ข้าพเจ้าคิดว่าการพัฒนาภาวะผู้นำที่มีดังนี้การเป็นผู้นำที่ดีนั้น จะต้องพัฒนา ตัวเองอยู่เสมอให้นำหน้าบุคคลอื่น โดยเฉพาะ อย่างยิ่งผู้ใต้บังคับบัญชาของตัวเอง พัฒนาตัวเองให้ทันสมัยทันเหตุการณ์อยู่เสมอ การพัฒนา ภาวะผู้นำอาจทำได้ ดังนี้
1. เรียนจากงานที่ทำ ส่วนมากเวลาเราไปศึกษาดูงานจากสถานศึกษา มักจะดู Product (ผลงาน) มากกว่า เช่น เราไปดูโรงเรียนดีเด่น ผู้บริหารของโรงเรียนดีเด่น มักจะไม่ดูว่าเขาทำอย่างไรจึงได้รับความสำเร็จเป็นโรงเรียนดีเด่น คือเราไม่ดูกระบวนการ (Process) หรือ วิธีการ อย่าลืมว่า งานยิ่งท้าทายมากเท่าไรคนยิ่งใช้ความพยายามมากขึ้น คนยิ่งกระตือรือร้นยิ่งขึ้น เป็นการท้ายทายกระตุ้นความสามารถยิ่งขึ้น
2. เรียนจากผู้อื่น ผู้นำต้องพร้อมที่จะเรียน พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงที่ดี ผู้ใดที่อยู่ในกลุ่มคนเรียนเก่งก็จะเก่งไปด้วย แต่ตรงข้ามถ้าอยู่ในกลุ่มของคนเรียนอ่อนก็พลอยเป็นคนเรียนอ่อนไปด้วย เหมือนคำโบราณที่กล่าวว่า “คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล”
3. เรียนจากนาย ถ้าเราได้นายดี เราจะเรียนรู้อะไรมากมายจากนาย ตรงข้ามถ้านายเราไม่ดี เราก็พลอยแย่ไปด้วย ผู้นำที่ดีจะต้องเป็นนายที่ดีของลูกน้อง หรือผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย การเรียนจากบทบาทแบบอย่าง (Roles) จะทำให้ผู้นำพัฒนาภาวะผู้นำมากยิ่งขึ้น ผู้นำหลายคนเรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเอง ซึ่งความผิดพลาดจะกลายเป็นบทเรียนชั้นดี
4. การฝึกอบรมและปฏิบัติการ เป็นสิ่งที่ผู้นำจะพัฒนาภาวะผู้นำของตัวเองได้ การฝึกอบรม (Training) มีอยู่ 4 รูปแบบคือ
4.1 ผู้นำคำใหม่ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งใหม่ เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น จะต้องมีการฝึกอบรม เช่น ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ จะมีการฝึกอบรมก่อนจะเข้ารับตำแหน่งเสมอ
4.2 การพัฒนาการวิธีการจัดการ การฝึกอบรมจะเน้นทักษะในการทำงาน จะต้องทำให้ดีกว่า เน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะอย่าง เช่น เมื่อมีกฎ ระเบียบ ออกมาใหม่ จะต้องเข้าอบรมเสียก่อน จะต้องฝึกให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ ผู้นำก็เช่นเดียวกัน ถ้ารู้กฎ ระเบียบ แบบแผน กฎเกณฑ์ ข้อมูลใหม่ ๆ ท่านสามารถให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาของท่านได้
4.3 เพิ่มพูนภาวะผู้นำ หรือความเป็นผู้นำ หมายถึง ฝึกความสามารถ
4.4 ฝีกสิ่งสำคัญของภาวะผู้นำ หรือความเป็นผู้นำ หมายถึง ทุกคนรักความก้าวหน้า จะฝึกอย่างไรให้เขามีความก้าวหน้าเพราะทุกคนต้องการ
(4.) นักศึกษากล่าวถึงภาวะผู้นำสมัยใหม่จะต้องมีวิธีคิดอย่างไร
ตอบ ในปัจจุบัน ยังมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงแนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำอยู่ตลอดเวลา จึงเกิดเป็นแนวคิดที่สำคัญๆ(มัลลิกา ต้นสอน, 2544: 54) ดังนี้
1.ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนและแบบเปลี่ยนแปลง (Transactional and Transformational Leadership) ผู้นำแบบแลกเปลี่ยน คือ ผู้นำแบบเดิมที่ใช้การแลกเปลี่ยนโดยรางวัลต่างๆ เป็นเครื่องมือในการชักจูงให้ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติงานให้ได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็ได้รับผลประโยชน์ที่แลกเปลี่ยนกัน ส่วนผู้นำแบบเปลี่ยนแปลงนั้น จะใช้ความสามารถเปลี่ยนความเชื่อ ทัศนคติของสมาชิก เพื่อให้สมาชิกทำงานได้บรรลุเหนือกว่าเป้าหมายที่ต้องการ โดยผู้นำจะถ่ายทอดความคิด ประสบการณ์ และกระตุ้นทางด้านความคิดต่างๆให้แก่สมาชิกอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
2.ทฤษฎีความสามารถพิเศษของผู้นำ (Charismatic theory) เป็นการกล่าวถึงบุคลิกภาพของผู้นำที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างไปจากบุคคลอื่น รังสรรค์ ประเสริฐศรี (2544: 55) กล่าวว่า ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ ควรมีลักษณะดังนี้ คือ เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ มีความสามารถด้านทักษะการสื่อสาร ความสามารถที่ทำให้ผู้อื่นไว้วางใจ ความสามารถทำให้ผู้อื่นเห็นว่าตนเองมีความสามารถ มีพลังและมุ่งการปฏิบัติให้บรรลุผล แสดงอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมและเอื้ออาทรแก่ผู้อื่น ชอบที่เสี่ยง สร้างกลยุทธ์ใหม่ๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย มีการโฆษณาตัวเอง และทำให้การขัดแย้งภายในเกิดขึ้นน้อยที่สุด กระแสในปัจจุบันได้มุ่งให้ความสนใจกับ ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership) และภาวะผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ (Charismatic leadership) ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ได้พยายามอธิบายว่า ผู้นำประสบความสำเร็จในระดับสูงในการจูงใจสมาชิก
(5.)นักศึกษาคิดว่า ประสิทธิภาพของภาวะผู้นำที่ดีควรทำอย่างไร
ตอบ ความหมายของประสิทธิภาพของภาวะผู้นำก็เหมือนกับความหมายของภาวะผู้นำ ที่มีมากและแตกต่างกันไปตามความสนใจ และขอบเขตการศึกษาของนักวิจัย นอกจากนั้นสิ่งสำคัญอีก ประการหนึ่งคือ เกณฑ์ (Criteria) ที่จะใช้วัดหรือประเมินประสิทธิภาพของภาวะผู้นำ จากการ ศึกษางานวิจัย พบว่า เกณฑ์ (Criteria) ที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพผู้นำ พอแยกได้เป็น 3 ลักษณะคือ
1. ผลที่เกิดขึ้นของกลุ่ม (Outcome) คือผลที่เกิดขึ้นของกลุ่ม เนื่องจากความสามารถ ในการนำ หรือภายใต้การนำของผู้นำ เช่นผลสำเร็จของการปฏิบัติงานของกลุ่ม การสามารถ บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การอยู่รอดของกลุ่มความก้าวหน้าของกลุ่ม ความพร้อมของกลุ่ม ความสามารถในการแก้ปัญหาของกลุ่ม ความพึงพอใจของสมาชิกของกลุ่มที่มีต่อผู้นำ และฐานะที่ ได้รับการยอมรับไม่เปลี่ยนแปลงของผู้นำ สำหรับผลสำเร็จของการปฏิบัติงานในองค์การธุรกิจ อาจจะเห็นได้ชัดจากผลกำไร ที่เพิ่มขึ้น ยอดขายที่เพิ่มขึ้น ครองส่วนแบ่งของตลาดมากขึ้น เงินหมุนเวียนลงทุนมากขึ้น รวมทั้ง การยอมรับในผู้นำจากผู้บังคับบัญชา เพื่อน และผู้ตามมากขึ้น ส่วนองค์การของรัฐมักจะเน้นไปที่ ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตและการบริการขององค์การ
2. ทัศนคติของผู้ตาม (Attitude of Followers) ทัศนคติของผู้ตามหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้นำ นิยมใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินประสิทธิภาพของผู้นำอีกเกณฑ์หนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะทราบได้ โดยการใช้แบบสอบถามหรือการสัมภาษณ์ผู้ตาม ดังตัวอย่างคำถามต่อไปนี้ -ผู้นำสามารถตอบสนองความต้องการและคาดหวังของผู้ตามได้ดีเพียงใด -ผู้ตามชอบ ยกย่องและยอมรับผู้นำเพียงใด -ผู้ตามมีความยินดีในการปฏิบัติงานตามคำสั่งหรือคำขอร้องของผู้นำแค่ไหน -ผู้ตามต่อต้าน เพิกเฉย ที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำขอร้องของผู้นำหรือเปล่า นอกจากนั้น อาจดูได้จากการมีคำร้องทุกข์และบัตรสนเท่ห์ต่าง ๆ ส่งถึงผู้นำในระดับสูงกว่า รวมทั้งการขอย้าย การขาดงาน การหน่วงเหนี่ยวงาน และการหยุดงานมากขึ้น เป็นต้น
3. คุณภาพของกระบวนการกลุ่ม (Quality of Group Process) คุณภาพของกระบวนการกลุ่มก็เป็นเกณฑ์ที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพของผู้นำ โดยประเมินจากความสนับสนุนด้านต่าง ๆ และความตั้งใจที่จะทำให้คุณภาพของกระบวนการกลุ่มของลูกน้องมีคุณภาพดีขึ้นในด้านความ สามัคคี ความร่วมมือ แรงจูงใจ การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การแก้ไขความขัดแย้ง ประสิทธิภาพ ของงานเฉพาะด้าน กิจกรรมขององค์การ การมีทรัพยากรอย่างพอเพียง และความพร้อมของกลุ่มที่จะรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง และเหตุการณ์วิกฤตต่าง ๆ รวมทั้งการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของการทำงาน การสร้างความมั่นใจให้สมาชิก การเพิ่มพูนทักษะในงาน และการพัฒนาสุขภาพจิตของสมาชิกให้ดีขึ้น
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


ใบงานที่ 1
ทฤษฎีและหลักการจัดการบริหารการศึกษา
(1.)นักศึกษาให้คำนิยาม การบริหาร การบริหารการศึกษา
ตอบ การบริหาร หมายถึง กระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ (Sergiovanni) และมีระบบที่เหมาะสม
การบริหารการศึกษา หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆ ด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล และอาศัยทรัพยากร ตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำเนินชีวิตอยู่
(2.)นักศึกษาอธิบายคำว่าศาสตร์และศิลปะ ยกตัวอย่างปรระกอบ
ตอบ ศาสตร์ คือ สิ่งที่สามารถศึกษาได้อย่างเป็นระบบ มีระเบียบแบบแผน มีกฎเกณฑ์ หลักการและทฤษฎีที่เชื่อถือได้ เช่น การจัดการเรียนรู้ วิชาเรียนต่างๆ
ศิลปะ คือ การนำเทคนิค วิธีการ กลเม็ดมาใช้หรือประยุกต์ใช้หรือการนำมาปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์ เช่น การมีศิลปะในการพูด
(3.) นักศึกษากล่าวสรุปการวิวัฒนาการบริหารอย่างย่อ ๆพอสังเขป
ตอบ วิวัฒนาการของการบริหารวิวัฒนาการของการบริหาร มี 4 ยุค
คือยุคที่ 1 วิวัฒนาการของการบริหารยุคก่อน Classical เป็นระยะเวลาก่อนการคิดค้นการบริหารที่มีหลักเกณฑ์ เริ่มต้นตั้งแต่คนรู้จักรวมกำลังทำงานเรื่อยมา จนถึงประมาณ ค.ศ. 1880 เป็นครั้งแรกที่คาเริ่มหาวิธีการบริหารที่มีหลักเกณฑ์
สาระสำคัญในยุคที่ 11. คนงานอยู่ภายใต้อำนาจของหัวหน้าผู้ควบคุมหรือนายจ้าง
2. ความสัมพันธ์ระหว่างกันมีพื้นฐานจากระบบเจ้าขุนมูลนาย
3. ใช้ระบบเผด็จการ
4. สังคมชาวเยอรมันมีการแบ่งแยกบุคคลที่มีอำนาจเหนือกว่า
5. มีระบบศักดินาพื้นฐานความคิดของการบริหารในยุคนี้ยังไม่เกิด บุคคลใดอยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจแล้ว ก็จะมีอำนาจควบคุมระบบสังคมและเศรษฐกิจ คนเมื่อเกิดที่แห่งใดแล้วก็จะจำกัดเฉพาะที่นั้น ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขฐานะของตนได้ ในยุคนี้ ช่างฝีมือทำงานอย่างเดียวกัน มีการรวมกลุ่มกัน กลุ่มนั้นคือการเกิดสหบาลกรรมกร เมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 องค์กรมีขนาดใหญ่ขึ้น การผลิตเปลี่ยนจากครัวเรือนมาเป็นโรงงาน และในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 องค์การธุรกิจรูปแบบบริษัทก็เกิดขึ้น สรุปวิวัฒนาการของการบริหารในยุคก่อน Classical1. เริ่มจากคนรู้จักรวมกลุ่มกันทำงานประมาณ ค.ศ. 18802. บุคคลทำหน้าที่บริหารจัดการขึ้นอยู่กับลักษณะของกลุ่มนั้น3. ไม่มีกฎเกณฑ์ใด ๆ เป็นยุคเผด็จการ มีอำนาจหน้าที่อย่างเต็มที่
ยุคที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารยุค Classical เป็นยุคการบริหารทีมีหลักเกณฑ์ อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1880 – 1930สาระสำคัญของยุคที่ 2
1. มีการรปฏิวัติอุตสาหกรรม
2. มีการจ่ายค่าจ้างให้คนงานอย่างเพียงพอ
3. มีสิทธิ์ครอบครองทรัพย์สินส่วนตัว
4. มีความก้าวหน้าทางวิชาการ
5. เกิดศาสตร์ทางการบริหาร พื้นฐานความคิดของการบริหารยุคนี้ เป็นผลมาจากการพัฒนาทางอุตสาหกรรม คือพยายามศึกษาวิธีการผลิต พยายามบอกวิธีทำงานให้มีประสิทธิภาพ และมีมาตรฐานที่สุด ขจัดความไม่ยุติธรรม นักคิดในทางบริหารFrederick W. Taylor ( บิดาแห่งการจัดการทางวิทยาศาสตร์ ) เป็นชาวเยอรมัน ได้พัฒนาหลักการ การบริหารไว้ 4 ข้อ ดังนี้
1. งานทุกงานต้องกำหนดวิธีการอ่าน และทุกคนต้องปฏิบัติตาม
2. มีหลักเกณฑ์การคัดเลือกคนงาน
3. ทุกคนต้องได้รับการอบรม
4. ฝ่ายบริหารต้องร่วมมือกับพนักงานTaylor ใช้เทคนิคการบริหารตามหลักวิทยาศาสตร์ เรียกว่า Time – and – motion Study
1. เวลาที่จะใช้มนุษย์ทำงาน
2. หลักการกำหนดค่าจ้าง กำหนดตามลักษณะงาน
3. การแยกการวางแผนออกจากการปฏิบัติงาน Henri Faylo นักอุตสาหกรรมชาวฝรั่งเศส บิดาแห่งทฤษฎีการบริหาร ได้กำหนดขั้นตอนของการบริหารไว้ คือ
1. การวางแผน ( Planning )2. การจัดองค์การ( Organizing )3. การบัญชาการ( Commanding )4. การประสานงาน( Coordinate )5. การควบคุม( Control )Faylo เสนอหลักการบริหาร 14 หลัก ดังนี้ 1. แบ่งงานกันทำ 2. อำนาจหน้าที่ในการบังคับบัญชา 3. การมีระเบียบวินัย 4. ความเป็นเอกสารในการบังคับบัญชา 5. หลักผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นรอง องค์การเป็นหลัก 6. หลักความเอกภาพในทิศทาง 7. ผู้บริหารมีอำนาจตัดสินใจ 8. ความยุติธรรมต่อนายจ้าง และลูกจ้าง 9. หลักการมีสายบังคับบัญชา 10. หลักความเป็นระเบียบแบบแผน 11. ความเสมอภาค 12. ความมั่นคงในการทำงาน 13. หลักความริเริ่มสร้างสรรค์ 14. หลักความสามัคคีหรือมีน้ำใจMax Weber นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน ( บิดาแห่งราชการ ) เป็นนักคิดการบริหารแบบระบบราชการ นำไปใช้บริหารองค์กรได้ดี 7 ประการ ดังนี้ 1. การมีกฎระบียบข้อบังคับ 2. ไม่ยึกติดตัวบุคคล ไม่มีลักษณะเป็นส่วนตัว 3. หลักแบ่งงานกันทำ 4. มีโครงสร้างสายบังคับบัญชา 5. ความเป็นรอาชีพที่มั่นคง 6. มีอำนาจในการตัดสินใจ. 7. มีเหตุผล
ยุคที่ 3 วิวัฒนาการของการบริหารยุคมนุษยสัมพันธ์ ( Human Relation ) เป็นแนวคิดทางการบริหารที่เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1974 มาจนถึง ค.ศ. 1950 พื้นฐานความคิดทางการบริหารกล่าวได้ว่า Elton Mayo เป็นบุคคลแรกที่มำให้แนวความคิดทางการบริหารเปลี่ยนแปลงไป มนุษย์เป็นสังคม มีความต้องการให้ความคิดของตัวเองเป็นจริง เน้นการจูงใจElton Mayo ได้ทำการทดลอง ที่เป็นที่รู้จักในนาม ฮอธอร์น ศึกษาที่โรงงานฮอธอร์น ของบริษัท เวสเทอร์น อิเล็กตริก เริ่มในปี พ.ศ. 1924 – 1927 ผลการศึกษา1. สถานที่ของห้องทำงาน เรื่องของแสงสว่างที่มีมีผลต่อการเพิ่มผลผลิต2. กลุ่มมีผลต่อการปฏิบัติงานของคน3. ระบบสังคมหรือสภาพแวดล้อมในที่ทำงานมีผลกระทบต่อผลงานของคน4. ทัศนคติของพนักงานมีผลต่อการผลิตของงานข้อเสนอแนะของ Mayo 1. หาทางแก้ไขด้านบริหาร 2. ใช้ประโยชน์จากวิชาความรู้สาขาต่าง ๆ ทางด้านสังคมศาสตร์ 3. นำวิธีการทางมนุษยสัมพันธ์มาใช้อย่างถูกต้อง 4. มีการจูงใจพนักงาน 5. มีการสื่อสารที่ดีในองค์การแนวความคิดกลุ่มมนุษยสัมพันธ์ เน้นเรื่อง 1. ภาวะผู้นำ ( Leadership) 2. ทัศนคติในงาน ( Job attitudes ) 3. พลวัตรของกลุ่ม ( Group dynamic )ในยุคนี้ให้ความสำคัญกับคนและกลุ่มทำงาน
ยุคที่ 4 ยุค Behavioral Organization หรือ ยุคพฤติกรรมศาสตร์ เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มปี 1958 - ปัจจุบัน (10 ปี หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ) เป็นการผนวกความสำคัญของคนกับระบบเข้าด้วยกัน คือเป็นการบริหารที่ให้ความสำคัญทั้งงานและคนตามสถานการณ์ เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด ( Chester I Barnard ) ชาวอเมริกัน ซี่งเป็นผู้บุกเบิกแนวคิดพฤติกรรมศาสตร์ เชื่อว่า องค์การเป็นระบบของการร่วมแรงร่วมใจกันของบุคคล ตั้งแต่สองคนขึ้นไป เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ บาร์นาร์ดเชื่อว่าการโน้มน้าวจิตใจมี 2 ลักษณะเฉพาะเจาะจง คือเรื่องของแรงจูงใจด้านวัตถุ และลักษณะทั่วไป คือเรื่องความรู้สึก ดักกลาส แมกเกอเกอร์ ( Douglas McGregor s ) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ว่ามี 2 แบบ คือ 1. Theory x ทฤษฎีเอกซ์ เป็นสมมติฐานในทางลบของบุคคล 2. Theory y ทฤษฎีวาย เป็นสมมติฐานทางบวกการบริหารแบบพฤติกรรมศาสตร์มีอิทธิพลต่อการบริหารการศึกษา คือ 1. ทำให้ผู้บริหารหันมาสนใจกับการพัฒนาระบบการทำงานและการส่งเสริม สร้างขวัญกำลังใจแก่บุคลากรในโรงเรียน 2. ผู้บริหารโรงเรียนควรนำหลักวิทยาศาสตร์ สังคม และจิตวิทยา มาใช้ในการบริหารอย่างเหมาะสมผสมผสานอย่างกลมกลืน 3. ผู้บริหารโรงเรียนควรนำกรอบความคิด นำสรุปที่ได้จากทฤษฎีการบริหารมาเป็นแนวทางในการบริหารและประยุกต์ใช้หลักการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริง
(4.) นักศึกษาอธิบายทฤษฎีมาสโลว์ ทฤษฎีภาวะผู้นำ ทฤษฎีX ทฤษฎีY
ตอบ ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ – นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านี้ ต้องได้รับการตอบสนองตามลำดับขั้นทฤษฏีภาวะผู้นำ แยกออกได้เป็นทฤษฏีผู้นำตามคุณลักษณะ ผู้นำต้องมีคุณลักษณะที่เหมาะสมแก่การเป็นผู้นำทฤษฏีผู้นำตามตัวแบบของวรูม เยตตัน และแจโก มุ่งวิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ ด้านสถานการณ์ ว่ามีผลกระทบต่อระดับความร่วมมือของพนักงานมากน้อยเพียงไรทฤษฏีภาวะผู้นำ ทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำ แยกได้เป็นทฤษฎีคุณลักษณะผู้นำ ทฤษฏีพฤติกรรมผุ้นำ และทฤษฏีตามสถานการณ์ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์ (Douglas MC Gregor Theory X, Theory Y ) เขาได้เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกันทฤษฎี X (The Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ2. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง3. คนเห็นแก่ตนเองมากว่าองค์การ4. คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง5. คนมักโง่ และหลอกง่าย ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุ เป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการ เป็นต้นทฤษฎี Y (The integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้1. คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน2. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้3. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง4. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน
(5.) ทฤษฎีอธิบายมนุษยสัมพันธ์และแรงจูงใจ
ตอบ ทฤษฏีความต้องการ 5 ขั้นของอับราฮัม มาสโลว์ ได้แก่ ความต้องการด้านกายภาพ ความปลอดภัย ความต้องการด้านสังคม ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือ และความต้องการสำเร็จสมหวังในชีวิตทฤษฏีความต้องการ 5 ขั้นของอีริค ฟรอมม์ มนุษย์มีความต้องการ 5 ประการ ได้แก่ มีสัมพันธภาพ สร้างสรรค์ มีสังกัด มีเอกลักษณ์แห่งตน และมีหลักยึดเหนี่ยวทฤษฏีการเสริมแรงของสกินเนอร์ การเสริมแรงของมนุษย์มีพื้นฐานอยู่บนปัจจัย 3 ประการ ได้แก่ มนุษย์จะมีพฤติกรรมตามการเสริมแรงที่เกิดขึ้นกับตนและการทำงานของตน เป็นพฤติกรรมที่สามารถวัดหรือสังเกตได้ และการเสริมแรงที่เหมาะสมนั้นจะทำให้พฤติกรรมที่เป็นที่ต้องการมีเพิ่มขึ้น และที่ไม่ต้องการมีลดน้อยลงไป แบ่งเป็น การเสริมแรงทางบวก คือ การให้รางวัลในผลลัพธ์จากการกระทำที่ต้องการหรือปรับปรุงพฤติกรรม และการเสริมแรงทางลบ คือ การให้รางวัลจากการสามารถขจัดสิ่งที่ไม่ต้องการออกไปได้ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ โครงสร้างบุคลิกภาพของมนุษย์ ประกอบไปด้วยพลัง 3 ประการ ได้แก่ Id Ego และ Superegoทฤษฏีสององค์ประกอบของเฟรเดอริค เฮอร์ซเบิร์ก แรงจูงใจของมนุษย์เกิดขึ้นจากปัจจัยสองอย่าง ได้แก่ สิ่งทำให้เกิดความไม่พอใจและสิ่งที่ทำให้เกิด